ไขความลับ ดื่มชาเขียวแทนกาแฟดีจริงไหม? เอาใจคนรักสุขภาพ ชวนส่องคุณประโยชน์ในชาเขียวมัทฉะ เครื่องดื่มยอดนิยมที่อาจมีดีมากกว่าแค่ความอร่อย พร้อมเปรียบเทียบปริมาณคาเฟอีนที่ซ่อนอยู่ในชาเขียวและกาแฟ แบบไหนเหมาะกับคนทำงานมากกว่ากัน?
ปฏิเสธไม่ได้ว่า เครื่องดื่มยอดนิยมที่คนไทยชอบเป็นอันดับต้นๆ ก็คือ ชาเขียวและกาแฟ ซึ่งนอกจากจะให้ความอร่อยแล้วนั้น ทั้งในชาเขียวและกาแฟต่างก็มีสารที่ชื่อว่าคาเฟอีนอยู่ เมื่อดื่มเข้าไปจะทำให้เรารู้สึกมีพลังในการทำงาน สมองแล่น และตื่นตัวขึ้นกว่าเดิม จนในช่วงหลังเริ่มมีเทรนด์การดื่มชาเขียวแทนกาแฟ เพราะเชื่อว่าดีต่อสุขภาพมากกว่า วันนี้เราเลยถือโอกาสพาทุกท่านไปอ่านเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับประโยชน์และวิธีการดื่มชาเขียวด้วยกัน ส่วนใครที่ชื่นชอบกาแฟเป็นพิเศษสามารถเข้าไปอ่านบทความเก่าๆ เกี่ยวกับการเลือกดื่มกาแฟให้เหมาะสมกับ DNA ของตัวเองได้ ที่นี่
สำหรับปริมาณคาเฟอีนในชาเขียว รวมถึงชาแต่ละชนิด เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณคาเฟอีนในกาแฟจะเห็นได้ชัดว่า มีความแตกต่างกันอยู่พอสมควร เพราะแม้ว่าในเครื่องดื่มทั้งสองจะมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ แต่เป็นสารคนละชนิดกัน โดยในชามีสาร Catechins และ ECGC ส่วนในกาแฟมีสาร Hydrocinnamic acids
ในส่วนของยีนที่ส่งผลต่อการขับคาเฟอีนออกจากร่างกายคือยีน CYP1A2 ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มคนได้สองกลุ่มคือ กลุ่มคนที่ขับคาเฟอีนออกได้ไว และกลุ่มคนที่ขับคาเฟอีนออกได้ช้า
หลายคนอาจเคยสังเกตตัวเองว่า เมื่อหันมาดื่มกาแฟช่วงแรก แม้เพียงแค่แก้วเดียวก็ทำให้รู้สึกตื่นตัว จนหัวแล่นเป็นพิเศษ ถึงขั้นที่บางครั้งเริ่มรู้สึกตื่นตัวมากจนเกินไป ทว่าหลังจากที่ดื่มกาแฟเป็นประจำกลับทำงานไม่ค่อยได้ผล จึงมีความเป็นไปได้ว่า ท่านอาจมียีน CYP1A2 ซึ่งเป็นยีนที่ขับคาเฟอีนออกได้ไว (Fast metabolizer) ทำให้ร่างกายเกิดการปรับตัวและสลายคาเฟอีนได้ไวขึ้นกว่ากลุ่มคนทั่วไปถึงประมาณ 1.5 เท่า
ส่งผลให้ท่านต้องดื่มกาแฟในปริมาณที่มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ได้ความรู้สึกตื่นตัวเท่าเดิม สัญญาณนี้จึงเป็นเครื่องบ่งบอกว่าเรากำลังติดกาแฟแล้ว ซึ่งใครที่เคยมีอาการดังกล่าวแล้วต้องการเลิกกาแฟแบบเฉียบพลัน ท่านอาจจะประสบปัญหากับอาการอยากคาเฟอีน (caffeine withdrawal) ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดศีรษะ ง่วง หัวตื้อ และซึมตลอดเวลา
นอกจากนี้แล้ว กาแฟยังรบกวนการนอนหลับของเราได้ โดยปกติคาเฟอีนจะออกฤทธิ์โดยการไปยับยั้งที่ Adenosine receptors ซึ่งส่งผลเสียกับวงจรการหลับของเรา เนื่องจากคาเฟอีนจะอยู่ในร่างกายของคนที่มีพันธุกรรมแบบกำจัดคาเฟอีนออกได้ช้านานกว่า 10 ชั่วโมงหลังจากดื่มกาแฟ ดังนั้นเราจึงไม่ควรดื่มกาแฟในช่วงบ่ายแก่ๆ ช่วงเย็น หรือก่อนนอน
กลไกลการทำงานของคาเฟอีน
ท่านใดที่กำลังสนใจ อยากลองดื่มชาเขียวแทนกาแฟ เพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณคาเฟอีนในสัดส่วนที่ลดลง และส่งเสริมสุขภาพของตัวเองให้ดีขึ้น สามารถศึกษาข้อดีของการดื่มชาเขียวได้ ด้านล่างนี้
ในชาเขียวนั้นมีปริมาณคาเฟอีนที่น้อยกว่าในกาแฟ อีกทั้งยังมีสาร L-Theanine ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยผ่อนคลายความเครียด (Relaxation Effect) ส่งผลให้พักผ่อนได้มากขึ้น จนทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์โดยอ้อมอีกหลายอย่าง ดังนี้
สารต่อต้านอนุมูลอิสระทำหน้าที่เป็นเหมือนตัวปกป้องเซลล์ไม่ให้ถูกทำร้าย โดยปกติแล้วร่างกายเราก็สามารถสร้างสารต่อต้านอนุมูลอิสระได้ตามธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น สารกลูตาไธโอน (Glutathione) แต่เราก็ยังสามารถรับสารต่อต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ เพิ่มเติมจากการรับประทานอาหารเข้าไปได้เช่นกัน
ในชาเขียวเอง โดยเฉพาะชาเขียวมัทฉะก็มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนที่มากกว่าในกาแฟด้วยซ้ำ โดยสารต่อต้านอนุมูลอิสระตัวที่โดดเด่นนั้นคือ Catechins ซึ่งในชาเขียวมัทฉะจะมีสารตัวนี้มากกว่าชาเขียวทั่วไปถึงหนึ่งร้อยกว่าเท่าตัวเลยทีเดียว
ถึงแม้ว่าปริมาณการดื่มที่พอเหมาะจะช่วยเรื่องอาการลำไส้แปรปรวน แต่หากเราดื่มมากเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวน จนท้องเสียขึ้นมาได้เช่นกัน
การที่เราดื่มกาแฟโดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยดื่ม หรือมียีนแบบกำจัดคาเฟอีนออกได้ช้า อาจจะทำให้กาแฟที่ดื่มเข้าไปออกฤทธิ์มากเกินจำเป็น จนบางครั้งตื่นตัวแต่ทำงานได้ผลไม่ดีนัก ในขณะที่บางรายอาจเกิดความเครียดขึ้นมา หากเป็นเช่นนี้ท่านควรหันมาดื่มชาเขียวแทน โดยเฉพาะชาเขียวมัทฉะเพราะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการกระตุ้นให้เราทำงานได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งยังสามารถลดความเครียดได้ด้วยสารแอลธีอะนีน (L-Theanine) โดยการทำหน้าที่เข้าสู่ระบบประสาทและก่อให้เกิดคลื่นไฟฟ้าสมองแบบแอลฟา ทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีสมาธิขึ้นนั่นเอง
ส่วนท่านใดที่อยากรู้ว่า เราเป็นคนที่มียีนกำจัดคาเฟอีนได้ช้าหรือไม่ สามารถลองเลือกใช้บริการของ Geneus DNA ได้ เพื่อจะได้ทำความเข้าใจสุขภาพของตัวเอง และจะได้รู้ว่าจริงๆ แล้ว เราเหมาะกับชาเขียวหรือกาแฟมากกว่ากัน
Reference :
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6155401/
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/28864169
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18296328