สงสัยไหมว่า ทำไมคนเราถึงเป็นโรคภูมิแพ้ (Allergy) บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจว่า ทำไมเราถึงมีอาการแพ้ และภูมิแพ้แท้จริงแล้วมีกี่ประเภทกันแน่?
จามบ่อย น้ำมูกไหลง่าย อาการสุดกวนใจของ “โรคภูมิแพ้” ทำเอาหลายคนไม่มั่นใจ เพราะรู้สึกเสียบุคลิก เนื่องจากต้องคอยซับน้ำมูกอยู่บ่อยครั้ง แต่รู้กันหรือเปล่าว่า ความจริงแล้วเราสามารถรู้ความเสี่ยง โอกาสเป็นภูมิแพ้ล่วงหน้า และหาวิธีป้องกันได้ผ่านผลตรวจดีเอ็นเอ บทความนี้จึงจะพาทุกท่าน ไปทำความเข้าใจว่า ภูมิแพ้คืออะไร และมีสาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลตัวเอง พร้อมรักษาอาการภูมิแพ้ให้ดีขึ้น เพื่อกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่นอีกครั้ง
ภูมิแพ้ (Allergy) คือปฏิกิริยาตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่มีต่อสารแปลกปลอม (Allergen) จากภายนอกที่ไม่คุ้นชิน และอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ หรือสภาพอากาศ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน ดังนั้นหากร่างกายเรามีอาการของโรคภูมิแพ้ เช่น น้ำมูกไหล หรือจาม แปลว่าระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเรากำลังต่อสู้กับเชื้อโรค
ทั้งนี้เมื่อร่างกายเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแปลกปลอม (Allergen) ก็จะแสดงออกมาในลักษณะของอาการแพ้ (allergic reaction) ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันสร้าง อิมมูโนโกลบูลินอี (immunoglobulin E : IgE) ซึ่งเป็นแอนติบอดี (Antibody) ขึ้นมา โดยเจ้าแอนติบอดีนี้จะเข้าไปเกาะติดกับสิ่งแปลกปลอมที่มองว่า เป็นอันตรายกับร่างกายเราที่อาศัยอยู่ในผิวหนัง ทางเดินหายใจ และเยื่อเมือกต่างๆ ก่อนนำพวกมันไปให้แมสต์เซลล์ (Mast Cells) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่สำคัญของร่างกาย ทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้น ทําให้มีการปล่อยฮีสตามีน (histamine) ซึ่งเป็นสารเคมีที่หลั่งออกมาจากแมสต์เซลล์ โดยฮีสตามีนคือสิ่งที่ทําให้เกิดอาการภูมิแพ้ของเรานั่นเอง
ผู้ที่มีอาการภูมิแพ้แต่ละคน มักมีสิ่งที่แพ้หรือสิ่งกระตุ้นแตกต่างกันไป ซึ่งเราได้รวบรวมสิ่งแปลกปลอม อันเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยมาฝากกัน ดังนี้
สำหรับอาการของโรคภูมิแพ้ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาที่เราสัมผัสกับสิ่งแปลกปลอม หรือสิ่งกระตุ้นนั้นๆ เช่น หากแพ้เกสรดอกไม้และเผลอสูดดมเข้าไป อาจมีอาการคัน น้ำมูกไหล หายใจไม่สะดวก และไอร่วมด้วย แต่หากสิ่งแปลกปลอมเข้ามาผ่านดวงตา ท่านอาจมีอาการน้ำตาไหล หรือตาแดง ในขณะผู้ที่ได้รับการกระตุ้นโรคภูมิแพ้จากอาหารการกิน อาจมีการอาเจียนหรือท้องเสียด้วย
ภาพจาก https://redcliffelabs.com/myhealth/allergy
โรคภูมิแพ้ แม้จะได้ยินบ่อย แต่น้อยคนที่จะรู้ว่า โรคภูมิแพ้สามารถถูกแบ่งได้หลายประเภท ตามสิ่งกระตุ้นที่เราแพ้ ดังต่อไปนี้
ภูมิแพ้ผิวหนัง (Skin allergy)
อาการภูมิแพ้ผิวหนังของเรา สามารถถูกกระตุ้นได้จากหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ยาง ไรขนสัตว์ น้ำ อาหาร พิษของแมลง หรืออุจจาระของสัตว์ ซึ่งจะแสดงอาการแพ้ออกมาให้ได้เห็นผ่านการคัน บวม ผื่น รอยแดง ผิวแห้งแตก หรือลอกเป็นขุย
ภูมิแพ้อากาศ (Allergic rhinitis)
โรคภูมิแพ้อากาศ หรือโรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นอาการอักเสบบริเวณเนื้อเยื่อจมูก หลังร่างกายแสดงปฏิกิริยาต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงกะทันหัน ส่งผลให้เกิดความระคายเคือง จนมีอาการจาม น้ำมูกไหล ภูมิแพ้ขึ้นตาหรือคันตาตามมาได้
ภูมิแพ้สัตว์ (Animal allergy)
สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้สัตว์ โดยส่วนใหญ่มักแพ้โปรตีนที่ผลิตในขน ผิวหนัง ปัสสาวะ และน้ำลายของสัตว์ ซึ่งทำให้มีอาการน้ำมูกไหล คัดจมูก จาม ตาแดงหรือมีน้ำไหลออกจากตา มีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจหอบถี่ มีผื่นแดง หรือเป็นลมพิษ
ภูมิแพ้แมลง (Insect allergy)
ในส่วนของการแพ้แมลง บ่อยครั้งจะเกิดจากการแพ้แมลงสาบ หรือพิษของแมลงตัวเล็ก เนื่องจากหลายคนมีปฏิกิริยาต่อโปรตีนในอุจจาระ น้ำลาย และส่วนลำตัวของแมลงสาบ เช่นเดียวกับพิษที่เข็มของผึ้ง แตน ต่อ และมดคันไฟ ทำให้มีอาการไอ คัดจมูก ผิวหนังมีผื่นแดงคัน ไซนัสและหูติดเชื้อ
ภูมิแพ้ฝุ่นละออง (Dust allergy)
ผู้ที่ป่วยเป็นภูมิแพ้จำนวนมาก มักอ่อนไหวต่อฝุ่นละออง โดยเฉพาะฝุ่นภายในบ้าน ได้แก่ ไรฝุ่น เชื้อรา ซึ่งจะทำให้เกิดอาการจาม คัดจมูก เป็นน้ำมูก ตาแดง คันบนผิวหนัง ไอแห้ง และหายใจหอบถี่
ภูมิแพ้อาหาร (Food allergy)
จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า เด็กจำนวน 4-6% และผู้ใหญ่อีก 4% มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้อาหาร ซึ่งอาหารที่กระตุ้นอาการแพ้ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย นม ไข่ ถั่ว ปลา สัตว์ทะเลที่มีเปลือก ข้าวสาลี ถั่วเหลือง เมล็ดงา ด้านอาการแพ้สามารถแสดงออกได้ในหลายส่วนของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง ระบบย่อยอาหาร หัวใจ ความดันโลหิต และปอด โดยอาจมีอาการลมพิษ หายใจหอบถี่ อาเจียน ไอ ลิ้นบวม ผิวซีด ชีพจรต่ำ ลำคอบวม เวียนหัว หายใจลำบาก และมีผื่นขึ้นด้วย
ภูมิแพ้ยา (Drug allergy)
หนึ่งในอาการแพ้ที่หลายคนคาดไม่ถึงคือ การแพ้ยา ซึ่งผู้ที่ใช้ยารักษาบางประเภท เช่น ยาปฏิชีวนะ ยากันชัก ยาประเภท NSAIDS (แอสไพรินและไอบูโพรเฟน) และยาเคมีบําบัด อาจมีโอกาสแพ้ ทำให้ร่างกายมีปฏิกิริยาคือ คันผิวหนัง มีผื่นแดง อาเจียน หายใจติดขัด และเวียนศีรษะ
สำหรับคนที่สงสัยว่าตัวเองเป็นโรคภูมิแพ้ แต่ไม่รู้ว่าแพ้อะไร สามารถทำการทดสอบภูมิแพ้ของตัวเองได้ เนื่องจากในปัจจุบันมีวิธีการตรวจโรคภูมิแพ้อยู่ทั้งหมด 2 แบบ ได้แก่ การทดสอบผิวหนัง (skin prick test หรือ scratch) ซึ่งสามารถบอกได้ว่า สิ่งแปลกปลอมหรือตัวกระตุ้นอาการแพ้ของเราคืออะไร โดยแพทย์จะใช้เข็มเล็กๆ หยิบเอาผิวหนังของเราในปริมาณเล็กน้อย ไปทำการทดสอบกับสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เพื่อดูปฏิกิริยาว่าผิวหนังมีการตอบสนองว่าแพ้ต่ออะไรบ้าง
ส่วนการทดสอบอีกแบบคือการทดสอบโดยเลือด (Blood : IgE) คือการนำตัวอย่างเลือดไปหา ปริมาณอิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) ซึ่งเป็นแอนติบอดีที่ร่างกายผลิตจากพลาสมาเซลล์ มีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย โดยการตรวจแบบนี้ทำให้รู้ว่า ผู้ป่วยแพ้อะไรมากน้อยแค่ไหนบ้าง
การรักษาโรคภูมิแพ้เบื้องต้น ต้องออกห่างจากสิ่งกระตุ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น เกสรดอกไม้ ฝุ่นละออง เป็นต้น พร้อมกันนี้หากมีอาการ ต้องใช้ยาที่ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ ไม่ว่าจะเป็น ยาแก้แพ้ (Antihistamines), สเปรย์ฉีดจมูก (Nasal sprays), ยารักษาโรคหอบหืด (Asthma medications) และวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Immunotherapy)
อาการป่วยของโรคภูมิแพ้ ในบางรายอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยเด็ก ในขณะที่บางรายมักมีอาการในตอนโต แต่จะดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถรู้แนวโน้มความเสี่ยงอาการแพ้ของตัวเองและคนในครอบครัว เพื่อวางแผนทางสุขภาพได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เนื่องจากในปัจจุบันได้มีบริการของ Geneus DNA ที่สามารถวิเคราะห์แนวโน้มการเป็นภูมิแพ้จากยีนของเราได้
โดยผู้ที่เลือกใช้บริการของ Geneus DNA จะสามารถเห็นผลพันธุกรรมของตัวเอง เกี่ยวกับปฏิกิริยาการแพ้ ได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ภูมิแพ้แมลงสาบ ซึ่งทำการทดสอบด้วยยีน IL12A, ภูมิแพ้ไรฝุ่น ที่ทำการทดสอบด้วยยีน IL10, ภูมิแพ้ละอองเกสร ที่ทำการทดสอบด้วยยีน LRRC32 และ IL1RL1 พร้อมกันนี้ท่านยังสามารถทราบแนวโน้ม การเป็นภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง และภูมิแพ้ผิวหนังได้อีกด้วย
อ้างอิง
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/8610-allergies
https://www.webmd.com/allergies/allergy-symptoms