Rated 4.98-stars across 2K+ reviews
Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews

ไม่กินกลูเตน ดีจริงหรือแค่กระแสนิยม?

GeneusDNA profile image By
GeneusDNA
|
Sep 09, 2024
|
2.40 k
อาหาร
สุขภาพ
กลูเตน, แพ้กลูเตน, ไม่กิน กลูเตน
Summary
กลูเตน, แพ้กลูเตน, ไม่กิน กลูเตน

หลายคนเชื่อว่าการไม่กินกลูเตนจะช่วยให้สุขภาพดีขึ้น และช่วยลดน้ำหนักได้ แต่การไม่กินกลูเตนเป็นทางเลือกที่ดีหรือเป็นแค่กระแสนิยมกันแน่? บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงความจริงเกี่ยวกับกลูเตน และผลกระทบต่อสุขภาพของเรามากขึ้น

การหลีกเลี่ยงกลูเตนกลายเป็นแนวโน้มที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน หลายคนเชื่อว่า การไม่กินกลูเตนจะช่วยส่งเสริมสุขภาพและลดน้ำหนักได้ แล้วคุณล่ะ คิดว่ากลูเตนเป็นสิ่งที่จำเป็น ต่อร่างกายหรือไม่? และการไม่กินกลูเตนในอาหารเป็นการเลือกที่ดีจริง หรือเป็นเพียงแค่กระแสนิยม? บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจว่า กลูเตนคืออะไร มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร รวมถึงการวิเคราะห์ยีนที่เกี่ยวข้องกับความไวต่อกลูเตน เพื่อลดความเสี่ยงของอาการแพ้กลูเตน ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพได้

เราจำเป็นต้องกินกลูเตนไหม? เจาะลึกความสำคัญของกลูเตนต่อร่างกายมนุษย์

กลูเตนคืออะไร?

กลูเตน (Gluten) คือไกลโคโปรตีนที่ประกอบด้วยโปรตีนหลักสองชนิด ได้แก่ กลูเตนิน (Glutenin) และ กลิอาดิน (Gliadin) ซึ่งกลูเตนสามารถพบได้ในธัญพืช เช่น ข้าวสาลี, ข้าวบาร์เลย์ และข้าวไรย์

  1. กลูเตนิน (Glutenin): เป็นโปรตีนที่มีบทบาทสำคัญในการให้โครงสร้างและความเหนียวแก่แป้ง กลูเตนินช่วยให้แป้งมีความยืดหยุ่นและสามารถขยายตัวได้ดี ทำให้ขนมปัง และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้ง มีเนื้อสัมผัสที่ฟูและเนียนขึ้น
  2. กลิอาดิน (Gliadin): เป็นโปรตีนที่ทำให้แป้งมีความสามารถในการขยายตัวและมีความยืดหยุ่น กลิอาดินช่วยให้แป้งสามารถพองตัวและยืดหยุ่นได้ดีในระหว่างกระบวนการอบ ทำให้ขนมปังมีลักษณะเนื้อฟูและเบา

จึงสามารถสรุปได้ว่า กลูเตนมีคุณสมบัติในการสร้างโครงข่ายที่ยืดหยุ่นและเหนียว ซึ่งช่วยให้แป้งมีความยืดหยุ่นและสามารถพองตัวได้ดีเมื่ออบ เช่น ในขนมปัง และผลิตภัณฑ์จากแป้งอื่นๆ ส่งผลให้แป้งมีเนื้อสัมผัสที่ดี และสามารถขึ้นรูปได้อย่างสวยงาม

อย่างไรก็ตาม กลูเตนอาจเป็นปัญหาสำหรับผู้ที่มีภาวะแพ้กลูเตน เช่น โรคเซลิแอค (Celiac Disease) ซึ่งทำให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ทำลายเนื้อเยื่อในลำไส้เล็ก จนทำให้เกิดอาการ เช่น ท้องอืด ท้องเสีย และปวดท้อง นอกจากนี้ คนที่มีภาวะไวต่อกลูเตน  (Gluten Sensitivity) ก็อาจมีอาการคล้ายกัน แม้จะไม่มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ชัดเจนเหมือนในโรคเซลิแอคก็ตาม

ทำไมบางคนไม่กิน หรือแพ้กลูเตน?


ทำไมบางคนไม่กิน หรือแพ้กลูเตน?

การหลีกเลี่ยงกลูเตนได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เนื่องจากหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการแพทย์ โดยส่วนใหญ่ผู้คนไม่กินกลูเตนด้วยเหตุผลสำคัญ ดังนี้

  1. โรคเซลิแอค (Celiac Disease): โรคเซลิแอคเป็นโรคภูมิแพ้ที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อกลูเตน ทำให้เกิดการอักเสบ ในลำไส้เล็ก และทำลายเยื่อบุลำไส้ อาการของโรคเซลิแอคมีหลายระดับ เช่น ท้องเสีย, ท้องอืด, น้ำหนักลด, อ่อนเพลีย, และมีปัญหาในการดูดซึมสารอาหาร ทำให้ผู้ที่เป็นโรคเซลิแอคจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงกลูเตนอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกัน ความเสียหายต่อสุขภาพ
  2. อาการแพ้กลูเตน (Non-Celiac Gluten Sensitivity): อาการแพ้กลูเตนคือการตอบสนองของร่างกายต่อกลูเตน แม้จะไม่มีโรคเซลิแอค แต่หากบางคนบริโภคกลูเตนเข้าไป ก็อาจทำให้เกิดอาการบางอย่างได้ เช่น ท้องอืด, ท้องเสีย, ปวดท้อง, อ่อนเพลีย, และปวดหัว ดังนั้นการลดหรือหลีกเลี่ยงการกินกลูเตน สามารถช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ให้ดีขึ้นได้
  3. แพ้ข้าวสาลี (Wheat Allergy): การแพ้ข้าวสาลีเป็นการตอบสนองทางภูมิแพ้ ต่อโปรตีนในข้าวสาลี ซึ่งรวมถึงกลูเตน โดยผู้ที่มีอาการแพ้ข้าวสาลีอาจแสดงออกได้หลายแบบ เช่น มีผื่น, คัน หรือปวดท้อง การหลีกเลี่ยงข้าวสาลี และผลิตภัณฑ์ที่มีข้าวสาลีเป็นส่วนประกอบ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการอาการแพ้นี้

กลูเตนจำเป็นต่อร่างกายหรือไม่?

กลูเตนไม่ถือเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์ ร่างกายไม่ต้องการกลูเตน เพื่อส่งเสริมการทำงานของระบบต่างๆ ดังนั้นการบริโภคกลูเตนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสุขภาพส่วนบุคคล และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคนนั้นๆ 

สำหรับผู้ที่ไม่มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับกลูเตน การบริโภคกลูเตนในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ถือเป็นอันตราย และสามารถนำกลูเตนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของมื้ออาหารตามหลักโภชนาการ ได้ ในขณะที่คนแพ้กลูเตน ควรระวังเรื่องอาหารการกินให้ดี และมองหาสัญลักษณ์กลูเตนฟรีด้วยจะดีที่สุด (Gluten Free)

การวิเคราะห์ยีน รู้ได้อย่างไรว่าแพ้กลูเตนไหม?

การวิเคราะห์ยีน รู้ได้อย่างไรว่าแพ้กลูเตนไหม?

การตรวจสอบยีนที่เกี่ยวข้องกับกลูเตน สามารถให้ข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงโรคเซลิแอค และความไวต่อกลูเตนได้ ซึ่งยีนที่สำคัญ ได้แก่

การวิเคราะห์ทางพันธุกรรม จากยีน HLA-DQ2.5 และ HLA-DQ8

เนื่องจากยีน HLA-DQ2.5 และ HLA-DQ8 เป็นยีนที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการพัฒนาโรคเซลิแอค ซึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ที่เกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อกลูเตน ประมาณ 90% ของผู้ที่เป็นโรคเซลิแอค มักมียีน HLA-DQ2.5 ในระบบภูมิคุ้มกัน และอีก 10% มียีน HLA-DQ8 ทำให้การทดสอบทางพันธุกรรมสามารถช่วยระบุความเสี่ยงได้ว่า เรามีโอกาสที่จะเป็นโรคเซลิแอคหรือไม่ผ่านยีนทั้งสอง

ตรวจความเสี่ยงแนวโน้มการแพ้กลูเตนด้วย Geneus DNA

การเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงทางพันธุกรรมของตัวเอง เป็นกุญแจสำคัญในการดูแลสุขภาพ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับการแพ้กลูเตน หรือโรคเซลิแอค Geneus DNA มีบริการตรวจสอบยีนที่สามารถช่วยให้คุณทราบ ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ

เนื่องจาก Geneus DNA ใช้เทคโนโลยี Whole Genome-wide Array ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์จำนวน SNPs กว่า 10 ล้านตำแหน่ง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย และครอบคลุมมากที่สุดในการศึกษาพันธุกรรม ทำให้คุณสามารถรู้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสุขภาพ ของตัวเองได้อย่างละเอียด ซึ่งบริการนี้ไม่เพียงแค่ตรวจสอบความเสี่ยงการแพ้กลูเตน แต่ยังให้ข้อมูลที่ครบถ้วนเกี่ยวกับแนวโน้มความเสี่ยงโรคต่างๆ รวมถึงโภชนาการที่ควรได้รับ การพักผ่อน และการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตัวคุณด้วย ทำให้มีประโยชน์ต่อการวางแผน การดูแลสุขภาพ ให้เหมาะกับความต้องการของร่างกายตัวเองมากที่สุด

ตรวจความเสี่ยงแนวโน้มการแพ้กลูเตนด้วย Geneus DNA

บริการ Geneus DNA


ข้อดีของการไม่กินกลูเตน

การหลีกเลี่ยงกลูเตนสามารถมีข้อดีหลายประการ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับกลูเตน

  • การบรรเทาอาการ : สำหรับผู้ที่มีโรคเซลิแอค, อาการแพ้กลูเตน หรือแพ้ข้าวสาลี การหลีกเลี่ยงกลูเตนสามารถช่วยบรรเทาอาการไม่สบายและฟื้นฟูสุขภาพโดยรวมได้
  • อาจได้รับคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น :  การเลือกอาหารที่ปราศจากกลูเตน อาจนำไปสู่การเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น เช่น ผัก, ผลไม้, และธัญพืชที่ไม่มีกลูเตน ซึ่งให้สารอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของเราได้มากขึ้น

ข้อเสียของการไม่กินกลูเตน

แม้ว่าการหลีกเลี่ยงกลูเตนอาจมีข้อดี แต่ก็มีข้อเสียบางส่วนที่ควรพิจารณาด้วย อาทิ

  • ความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร: อาหารที่ปราศจากกลูเตนอาจขาดแร่ธาตุ หรือวิตามินบางชนิดที่พบในธัญพืชที่มีกลูเตน การเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีความหลากหลาย จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร
  • ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น: ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากกลูเตน หรือกลูเตนฟรี (Gluten free) มักมีราคาสูงกว่าผลิตภัณฑ์ทั่วไป ทำให้การเลือกซื้ออาหารที่ปราศจากกลูเตน อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นซึ่งเป็นภาระทางการเงินของคุณได้

การหลีกเลี่ยงกลูเตนมีความจำเป็นสำหรับผู้ที่มีโรคเซลิแอค, แพ้กลูเตน หรือเป็นโรคภูมิแพ้ข้าวสาลี แต่สำหรับผู้ที่ไม่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกลูเตน การบริโภคกลูเตนในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ถือเป็นอันตราย และสามารถเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการได้ นอกจากนี้การตรวจสอบยีนที่เกี่ยวข้องกับกลูเตน สามารถให้ข้อมูลที่สำคัญ ในการประเมินความเสี่ยง และวางแผนทางสุขภาพได้ด้วย

 

 

chat line chat facebook