Rated 4.98-stars across 2K+ reviews
Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews

ดื่มน้ำหวานแล้วเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งจริงหรือ?

GeneusDNA profile image By
GeneusDNA
|
Sep 10, 2019
|
446
อาหาร
สุขภาพ
sweet drink cancer
Summary
sweet drink cancer

จากงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์โดย BMJ พบว่า มีความเป็นไปได้เกี่ยวกับการดื่มน้ำหวาน จะเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็ง

จากงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์โดย BMJ พบว่า มีความเป็นไปได้เกี่ยวกับการดื่มน้ำหวาน จะเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็ง

ในช่วง 10 ปีให้หลังนี้ การดื่มเครื่องดื่มที่มีความหวาน เป็นที่แพร่หลายอย่างมาก ซึ่งผลที่ตามมาก็คือปัญหาโรคอ้วน เป็นความเสี่ยงอย่างมากในการเกิดโรคมะเร็งหลาชนิด แต่งานวิจัยที่ว่า น้ำหวานเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งยังมีไม่เพียงพอ

ทีมนักวิจัยในฝรั่งเศษ ได้เริ่มทำงานวิจัยโดยศึกษาในกลุ่มประชากรที่นิยมดื่มน้ำหวาน(น้ำตาล) และ น้ำผลไม้แท้ 100% และในกลุ่มที่ดื่มน้ำหวานที่มีสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงไร ในการทำให้เกิดมะเร็งทุกชนิด รวมทั้งมะเร็งเต้านม ต่อมลูกหมาก และมะเร็งลำไส้

ศึกษาในคนฝรั่งเศษที่สุขภาพดีจำนวน 101,257 คน(ผู้ชาย 21% ผู้หญิง 79%) อายุเฉลี่ย 42 ปี โดยใช้วิธี NutriNet-Santé cohort study

โดยในงานวิจัย จะให้ประชากรตอบคำถามออนไลน์เกี่ยวกับอาหารที่กินตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีอาหารและเครื่องดื่มให้เลือกตอบถึง 3,300 ชนิด และติดตามปัญหาสุภาพต่อมา นานที่สุดถึง 9 ปี ( คศ. 2009-2018) โดยติดตามผลประชากรเมื่อเกิดโรคมะเร็งจากบันทึกทางการแพทย์ และ ฐานข้อมูลประกันสุขภาพ

ปัจจัยต่างๆที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดโรคมะเร็ง อันได้แก่ อายุ เพศ ระดับความรู้ ประวัติมะเร็งในครอบครัว สูบบุหรี่ ระดับการออกแรงในแต่ละวันถูกรวมไปคิดด้วยในงานวิจัย ระดับการบริโภคน้ำหวานในผู้ชายโดยเฉลี่ยนั้น มากกว่าผู้หญิง(90.3mL และ 74.6mL ตามลำดับ) ในระหว่างการติดตามผลพบว่า ในประชากรกลุ่มนี้ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งครั้งแรกจำนวน 2193 คน (มะเร็งเต้านม 693 คน มะเร็งต่อมลูกหมาก 291 คน มะเร็งลำไส้ใหญ่ 166 คน) โดยอายุเฉลี่ยของคนที่เป็นมะเร็งอยู่ที่ 59 ปี

จากผลงานวิจัยดังกล่าวพบว่า

หากเราดื่มน้ำหวานมากขึ้น 100mL ต่อวันสัมพันธ์กับโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งมากขึ้น 18% สำหรับโรคมะเร็งโดยรวม และ 22% สำหรับมะเร็งเต้านม เมื่อลองจำแนกชนิดของน้ำหวานที่ดื่มพบว่า คนที่ดื่มน้ำหวาน(น้ำตาล) และน้ำผลไม้ เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งโดยรวม แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งลำไส้ ในทางตรงกันข้าม ในกลุ่มคนที่ดื่มน้ำหวานจากสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ไม่พบความเสี่ยงเกิดมะเร็ง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนได้ย้ำว่า อาจจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เนื่องจากในงานวิจัยนี้ ประชากรดื่มในปริมาณที่ไม่สูงมากนัก 

ส่วนคำอธิบายที่ว่า ทำไมดื่มน้ำหวานแล้วเกิดมะเร็งมากขึ้น คือน้ำตาลในเครื่องดื่มมีผลต่อไขมันในอวัยวะภายใน ระดับน้ำตาลในเลือด และการอักเสบในร่างกาย ซึ่งทั้งหมดนี้มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง

สารเคมีอื่นๆที่ทำให้เสพติดในน้ำอัดลมบางชนิด ก็อาจจะเป็นส่วนทำให้เกิดมะเร็ง 

อย่างไรก็ตามนี่เป็นงานวิจัยเชิงสังเกตุการณ์ ดังนั้นจึงไม่อาจบอกสาเหตุได้แน่ชัด และผู้เขียนกล่าวว่า ในงานวิจัยยังไม่สามารถแยกประเภทของน้ำหวานได้ทุกชนิด และ ไม่แน่ใจ 100% ว่ามะเร็งที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเคสที่เกิดมะเร็งขึ้นใหม่หรือไม่ จากงานวิจัยนี้ เป็นข้อเตือนให้เราตระหนักถึงการบริโภคน้ำตาล ควรมีการจำกัดการดื่มในแต่ละวัน อีกทั้งควรมีนโยบายด้านกดหมาย เช่น การเพิ่มภาษี การจำกัดการโฆษณาในกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งนั่น ทำให้ลดอุบัติการณ์ของมะเร็งได้

Journal Reference:

Eloi Chazelas, Bernard Srour, Elisa Desmetz, Emmanuelle Kesse-Guyot, Chantal Julia, Valérie Deschamps, Nathalie Druesne-Pecollo, Pilar Galan, Serge Hercberg, Paule Latino-Martel, Mélanie Deschasaux, Mathilde Touvier. Sugary drink consumption and risk of cancer: results from NutriNet-Santé prospective cohort. BMJ, 2019; l2408 DOI: 10.1136/bmj.l2408

chat line chat facebook