คุณเคยสงสัยบ้างหรือไม่ว่า ทำไมบางคนมีความเสี่ยงในการเป็นโรคบางอย่างมากกว่าคนทั่วไป ชวนวิเคราะห์แนวโน้มการเกิดโรคจาก Polygenic Risk Score (DNA) หรือ การตรวจพันธุกรรมประเมินความเสี่ยงโรค
ชวนทำความเข้าใจหลักการ Polygenic Risk Score (DNA) หรือ การตรวจพันธุกรรมประเมินความเสี่ยงโรค พร้อมเจาะลึกลักษณะยีนก่อโรคและการคำนวณคะแนนความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนั้นๆ
คุณเคยสงสัยบ้างหรือไม่ว่า ทำไมบางคนมีความเสี่ยงในการเป็นโรคบางอย่างมากกว่าคนทั่วไป? นั่นก็เพราะว่าความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคไขมัน เกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น สิ่งแวดล้อม อาหาร วิถีชีวิต ความเครียด การพักผ่อน การออกกำลังกาย และ พันธุกรรม ซึ่งนอกจากเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บแล้ว พันธุกรรมยังมีผลต่อร่างกายคนเราอีกหลายอย่าง เช่น ความสูง และ ความอ้วน เป็นต้น วันนี้เราเลยจะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจเรื่อง polygenic risk score ซึ่งเป็นค่าจากพันธุกรรมที่มีความสัมพันธ์ในการเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดโรคต่างๆ ขึ้นมานั่นเอง
ในปัจจุบันได้มีการจำแนกปัจจัยทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อโรคต่างๆ ออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ได้แก่
ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งได้แก่ ยีนก่อโรค และคะแนนความเสี่ยงโรค มีข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดทั้งหมด 3 ประการ ดังต่อไปนี้
โดยในบทความนี้เราจะกล่าวถึงส่วนที่เป็น polygenic risk score หรือที่เรียกว่าคะแนนความเสี่ยงโรคเป็นหลัก ซึ่งท่านสามารถทำความเข้าใจแบบง่ายๆ ไปพร้อมกันได้ด้านล่างนี้
DNA ในร่างกายของเรานั้นได้รับมาจากพ่อและแม่คนละครึ่ง ทำให้การแสดงออกทางพันธุกรรมต่างๆ รวมถึงความเสี่ยงที่จะเกิดโรคบางอย่างนั้นมีอิทธิพลมาจากยีนหลากหลายตำแหน่งทั่วทั้งจีโนม ร่วมกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม โดยการศึกษาแนวใหม่นี้ (ความสัมพันธ์ระหว่างการแปรผันทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการแสดงออกของร่างกายหรือความเสี่ยงโรค) ที่เรียกว่าการศึกษาแบบ genome-wide association studies (GWAS) เกิดขึ้นผ่านเทคนิคการนำค่า DNA ที่ได้มา ไปสร้างเป็น polygenic risk score เพื่อใช้ทำนายความเสี่ยงโรคด้วยดีเอ็นเอ
การศึกษาหาว่า DNA ตำแหน่งใดสัมพันธ์กับการเกิดโรค ใช้หลักการคำนวณเริ่มต้นที่การแบ่งคนที่เป็นโรคและไม่เป็นโรคออกเป็น 2 กลุ่ม หลังจากนั้นทำการตรวจ DNA ทั่วทั้งจีโนม และนำ DNA ของทั้ง 2 กลุ่มนี้มาเปรียบเทียบกันด้วยสถิติว่าตำแหน่งใดของ DNA ที่มีความเป็นไปได้สูงที่จะสัมพันธ์กับการทำให้เป็นหรือไม่เป็นโรค
จากรูปเป็นการนำ DNA มาเปรียบเทียบกันระหว่างกลุ่มคนที่ไม่เป็นโรคและกลุ่มที่เป็นโรค
หลังจากนำเอา DNA ทั่วทั้งจีโนมของคน 2 กลุ่มมาเปรียบกันด้วยสถิติแล้วทำเป็นกราฟขึ้นมา เราจะพบได้ว่า มีบางตำแหน่งของ DNA ซึ่งอาจจะมีมากตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักแสนตำแหน่ง ที่ชี้ว่ามีโอกาสสูงที่ DNA ตำแหน่งนั้นๆ สัมพันธ์กับการเป็นหรือไม่เป็นโรค ดังภาพด้านล่างนี้
หลังจากที่ได้ตำแหน่งต่างๆ ของ DNA ที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคออกมาแล้ว ก็มีการทำ quality control ต่างๆ และทำการนำตำแหน่ง DNA ที่ได้ไปทำวิเคราะห์การถดถอย (regression analysis เป็นวิธีทางสถิติที่ใช้หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นคือ DNA และตัวแปรตามคือ เป็นหรือไม่เป็นโรค) เพื่อหาค่า beta หรือน้ำหนักของ DNA แต่ละตัวว่ามีความแรงมากน้อยเพียงใดที่จะก่อให้เกิดโรค หลังจากทำการวิเคราะห์ถดถอยแล้วจะสามารถสร้างเป็น polygenic risk socre ขึ้นมาได้ตามรูปด้านล่างนี้ครับ
ตาราง polygenic risk score
ตารางดังกล่าวนี้ ส่วนมากจะมีจำนวน DNA ตั้งแต่หลักสิบจนถึงหลักแสนขึ้นอยู่กับการออกแบบงานวิจัย โดยหลักการนำเอาไปใช้งานคือใช้คำนวน genetic score ของแต่ละบุคคล คล้ายๆกับการคิดเกรดเฉลี่ยวิชาเรียน ก็คือหากเราได้ DNA ที่ตำแหน่งสีฟ้า มีตัวอักษรเดียวกับคอลัมน์สีส้ม 1 ตัวเราจะได้ score เท่ากับคอลัมน์สีเหลือง หากได้ตัวหนังสือจากคอลัมน์สีส้มมา 2 ตัวเราก็จะได้ score เท่ากับคอลัมน์สีเหลืองคูณสองครับ ยกตัวอย่างเช่น
เราจะทำการคำนวณแบบนี้ไปจนครบทุกตำแหน่งของ DNA ตามหลักการ polygenic score ก่อนจะได้ค่าผลรวม genetic score ออกมาได้เป็นเลขรวมเลขเดียว ดังนั้น 1 คนจะได้เลข genetic score รวม 1 ค่า ซึ่งเราจะสามารถเอาค่า genetic score นี้ ไปสร้างเป็นกราฟเทียบกับประชากร ดังภาพด้านล่างนี้
ทั้งนี้เพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น เราจะเปรียบเทียบกับการคิดเกรดเฉลี่ยวิชาเรียน โดยที่จะผลสอบจะออกมาเป็นสอบตก (ค่า DNA ที่ตำแหน่งนั้นเป็น other_allele) และสอบผ่าน (ค่า DNA ที่ตำแหน่งนั้นเป็น effect_allele) ในแต่ละปี (แต่ละโรค) โดยเราจะต้องสอบหลายวิชา (หลายตำแหน่ง DNA) และแต่ละวิชาจะมีน้ำหนักที่ไม่เท่ากัน (effect_weight) เมื่อได้ผลสอบทุกวิชาแล้วเราจะทำการถ่วงน้ำหนักแต่ละวิชาเพื่อดูเกรดเฉลี่ยรวม (genetic score) ว่าของเราเป็นเท่าไร ซึ่งแต่ละคนจะได้คะแนนรวมนี้ 1 ค่า โดยการที่เราจะสรุปได้ว่าเรามีคะแนนมากหรือน้อยนั้นจำเป็นต้องเอาคะแนนที่เราได้นี้ไปเปรียบเทียบกับเพื่อนในชั้นเรียนว่าเราอยู่ percentile ที่เท่าไหร่ เราก็จะทราบได้ทันทีว่าคะแนนที่เราได้มานี้มีค่ามากหรือน้อย
จากกราฟนี้จะเห็นได้ว่าการกระจายตัวของ genetic score ในประชากรเป็นการกระจายตัวแบบปกติ ประชากรส่วนมากจะมีค่า genetic score อยู่ที่ช่วงกลางๆ และมีประชากรส่วนน้อยได้ค่า genetic score มากและน้อย
การจะทราบได้ว่าค่า genetic score ที่เราได้มานี้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเท่าไหร่ สามารถคำนวณได้ด้วยการนำ genetic score ในแต่ละช่วงของ percentile มาหาโอกาสที่จะเป็นโรค (prevalence) ว่าคนที่ได้รับ genetic score อยู่ในช่วงเดียวกับเรามีโอกาสที่จะเป็นโรคดังกล่าวอยู่กี่ % ซึ่งเราจะยกตัวอย่างให้ได้ชมการผ่านกราฟด้านล่างนี้
จะเห็นได้ว่าจุดทั้งหมดมี 50 จุด ซึ่ง 1 จุดจะแทนประชากร 2% ดังนั้นจะมีประชากรทั้งหมด 100%จากกราฟจะสังเกตได้ว่าผู้ที่มี genetic score อยู่ที่ percentile น้อยจะโอกาสเกิดโรคต่ำกว่า (แกน Y) ผู้ที่มี genetic score อยู่ที่ percentile สูง
จากภาพซ้ายมือนี้ เป็นการหาความเสี่ยงโรคจาก genetic score ที่เราได้รับเทียบกับประชากรทั้งหมด พบว่าหากเราได้ค่า percentile ที่ 50 จะมีความเสี่ยงโรคประมาณ 1.9% (เส้นสีแดง) ส่วนถ้าเราได้ค่า genetic score อยู่ในช่วง percentile 86-88 เราจะมีความเสี่ยงเกิดโรคอยู่ที่ 2.5% ซึ่งแปลว่าเรามีความเสี่ยงเป็นโรคมากกว่าคนทั่วไปประมาณ 1.31 เท่า หรือ 31% นั่นเอง
ทั้งหมดนี้คือหลักการ polygenic risk score ที่ช่วยให้ทุกท่านได้เห็นภาพว่า เราสามารถตรวจหาโรคผ่าน DNA ได้อย่างไรบ้าง ซึ่งการทำนายความเสี่ยงในการเกิดโรคด้วยผลคะแนนนี้ มีประโยชน์ในการวางแผนอนาคตได้ไม่น้อยเลยทีเดียว นอกจากนี้เรายังสามารถใช้บริการของ Geneus DNA เพื่อตรวจหาความเสี่ยงโรค และแนวทางในการดูแลตัวเองได้ โดยการตรวจเพียงครั้งเดียว สามารถติดตามผลการวิเคราะห์สุขภาพผ่านแอปพลิเคชันได้ตลอดชีวิต
Reference :
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29727703/
https://journals.plos.org/plosgenetics/article?id=10.1371/journal.pgen.1010105