Rated 4.98-stars across 2K+ reviews
Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews

ฝุ่นพิษ PM2.5 ส่งผลถึงระดับการแสดงออกของยีน !

GeneusDNA profile image By
GeneusDNA
|
Jan 14, 2020
|
385
รู้หรือไม่
สุขภาพ
pm2.5
Summary
pm2.5

เราคงได้ยินกันบ่อย ๆในช่วงเวลานี้นั่นคือเรื่องที่ใกล้ตัวเรามาก เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 หากเราอยู่ในชุมชนเมืองอย่างเช่น กรุงเทพ หรือเชียงใหม่

เราคงได้ยินกันบ่อย ๆในช่วงเวลานี้นั่นคือเรื่องที่ใกล้ตัวเรามาก เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 หากเราอยู่ในชุมชนเมืองอย่างเช่น กรุงเทพ หรือเชียงใหม่ เราจะสังเกตว่าเมื่อเรามองออกไประยะไกลหน่อย จะเห็นวิวตึกได้ไม่ชัดเจนนัก เหมือนมีหมอกจาง ๆ มาบดบัง แท้ที่จริงแล้วนั่นก็คือฝุ่นจำนวนมากนั่นเอง

 

 

คำว่า PM2.5 นั้นมีมานานแล้วใช้ในการเรียกอนุภาคที่ส่งผลต่อสุขภาพ ย่อมาจาก Fine particulate matter หมายถึงฝุ่นอนุภาคเล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมโครเมตร(ไมครอน) เมื่อเปรียบเทียบแล้วขนาด 2.5 ไมครอนนี้เล็กกว่าเส้นผมถึง 25 เท่าเลยทีเดียว 

PM2.5 มาจากไหน?

  •  กิจกรรมทั่ว ๆ ไป ได้แก่ สูบบุหรี่ ทำอาหาร เปิดheater
  • การคมนาคมขนส่ง
  • การผลิตกระแสไฟฟ้าจากการเผาแร่
  • การเผาหญ้า เผาป่า
  • การเผาไหม้ในอุตสาหกรรมการผลิต

 

 

PM2.5 ส่งผลต่อร่างกายเราอย่างไร

เนื่องจาก PM2.5 นั้นมีขนาดที่เล็กมาก เมื่อเราสูดดมเอาอากาศที่มีความหนาแน่นสูงของ PM2.5 เข้าไป มันจะเข้าไปที่ปอดของเราผ่านถุงลมปอดและถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกาย จะทำให้สมดุลในร่างกายเปลี่ยนไป มีการกระตุ้นให้ยีนที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบทำงานผิดปกติ ส่งผลในระดับ gene expression และ DNA methylation ทำให้เกิดผลต่อระบบ

  • ระบบหลอดเลือดและหัวใจ : เพิ่มโอกาสในการเกิด stroke(เส้นเลือดในสมองตีบ/แตก), โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด(MI), เส้นเลือดตีบตัน และหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ระบบหายใจ : ในคนที่เป็นโรคหอบหืด หรือถุงลมโป่งพอง หากเจอเข้ากับ PM2.5 ปริมาณมากทำให้เกิดอาการกำเริบหนักได้, คนที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่เดิมจะมีอาการกำเริบ, เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอด 
  • ระบบประสาท : โรคสมองเสื่อมและ อัลไซมเมอร์

 

 

จากรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่าหากเราอยู่ในสภาวะอากาศที่มี PM2.5 เข้มข้นสูงในระยะเวลาที่นาน จะทำให้อายุไขเฉลี่ยของเราสั้นไปอีกหลายปีเลยทีเดียว ดังนั้นเราควรช่วยกันไม่ผลิตฝุ่นพิษให้มากเกินไป อันได้แก่

  • ไม่เผาขยะ ไม่เผาหญ้า
  • พยายามใช้การขนส่งสาธารณะให้มากขึ้น
  • ให้ภาครัฐมีนโยบายที่เข้มงวด สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
  • ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ๆ ที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 น้อยลง

 

ข้อแนะนำในการป้องกันตัวจากฝุ่นร้าย

  • ภายในตัวบ้าน หรืออาคารจะมีปริมาณฝุ่นน้อยกว่า พยายามไม่ก่อให้เกิดฝุ่นมากขึ้นในตัวบ้าน เช่น ลดการเผาไหม้จากการประกอบอาหาร
  • ติดตั้งเครื่องกรองฝุ่นที่มีประสิทธิภาพ และปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด
  • หากต้องการออกจากตัวอาคาร ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยปิดปากและจมูกในสนิท หน้ากากที่ดีที่สุดได้แก่ชนิด N95 ซึ่งอาจจะมีราคาแพงและอึดอัดเวลาสวมใส่ ส่วนหน้ากากอนามัยแบบปกตินั้นสามารถป้องกัน PM2.5 ได้ค่อนข้างน้อย แต่ก็สามารถใช้งานได้เช่นกันหากว่าเราไม่มี N95
  • รับประทานอาหารที่มีส่วนช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสละ อันได้แก่ วิตตามินซี วิตตามินอี วิตตามินเอและน้ำมันปลาโอเมก้า3 

Reference

https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/69477/WHO_SDE_PHE_OEH_06.02_eng.pdf

https://www.health.ny.gov/environmental/indoors/air/pmq_a.htm

 

chat line chat facebook