Rated 4.98-stars across 2K+ reviews
Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews

“วิตามินเฉพาะบุคคล” คืออะไร

GeneusDNA profile image By
GeneusDNA
|
Feb 23, 2024
|
2.33 k
รู้หรือไม่
สุขภาพ
personalized vitamin
Summary
personalized vitamin

วิตามินเฉพาะบุคคล ช่วยแก้ปัญหาภาวะขาดสารอาหารโดยการออกแบบสูตรเฉพาะเหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละบุคคล

"วิตามินเฉพาะบุคคล" คืออะไร และดีต่อสุขภาพอย่างไร?

วิตามินเฉพาะบุคคล ช่วยแก้ปัญหาภาวะขาดสารอาหารโดยการออกแบบสูตรเฉพาะเหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละบุคคล ตอบสนองความต้องการในด้านโภชนาการและปลดล็อกศักยภาพด้านสุขภาพที่สูงสุดของบุคคลนั้น

จากการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโภชนพันธุศาสตร์พบว่าพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอของเรามีผลต่อการดูดซึมสารอาหาร แต่คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมคนรู้จักที่ทานวิตามินชนิดเดียวกัน ยี่ห้อเดียวกัน แต่กลับได้ผลที่แตกต่างจากเรา

 

 

ปัจจุบันนี้มีผู้ที่ซื้อวิตามินทานเองตามร้านขายยาหรือร้านสะดวกซื้อต่างๆ ตามคำแนะนำของเพื่อน หรือคนรู้จัก หรือเห็นรีวิวจากในอินเทอร์เน็ตต่างๆ โดยอาจจะไม่ทราบว่าวิตามินที่ทานอยู่นั้นเหมาะสมกับร่างกายของเขาหรือไม่ มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าผู้รับประทานสารอาหารอย่างถูกต้องเหมาะสมกับดีเอ็นเอ อาจส่งผลที่ดีต่อการสร้างเสริมสุขภาพมากกว่า

แล้วคุณรู้หรือไม่?! ว่าปัจจุบันนี้เทคโนโลยีด้านอาหารและวิทยาศาสตร์พัฒนาอย่างมากเพื่อตอบสนองด้านสุขภาพที่ดี ออกแบบมาอย่างเฉพาะกับดีเอ็นเอหรือตามเป้าหมายสุขภาพที่ดีของคุณเท่านั้น อย่าลืมว่าดีเอ็นเอของคุณพิเศษและไม่เหมือนใครที่ไหนในโลก 100% งานวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่มีระดับแร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายต่ำกว่าค่าปกติของการมีสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลเซียมและวิตามินดีโดยที่ไม่รู้ตัว

ในทางกลับกัน อาหารที่เติมแต่งด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่างๆ กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น สิ่งนี้อาจทำให้มีร่างกายได้รับสารอาหารบางชนิดในปริมาณที่สูงเกินไปและอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาสุขภาพในระยะยาวได้

"วิตามินเฉพาะบุคคล" มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหานี้โดยการออกแบบสูตรเฉพาะที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละบุคคล เพื่อตอบสนองความต้องการ ส่งเสริมเป้าหมายสุขภาพและปลดล็อกศักยภาพด้านสุขภาพที่สูงสุดของบุคคลนั้น

"วิตามินเฉพาะบุคคล" กับสุขภาวะที่ดี

สุขภาวะที่ดี คืออะไร

สุขภาวะที่ดีประกอบด้วยสุขภาพกายและใจที่ดี มีความสุข และความสมบูรณ์พร้อม รวมถึงความพึงพอใจในชีวิตและความสามารถในการจัดการสถานการณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสุขภาวะที่ดีเป็นเป้าหมายสูงสุดสำหรับทุกคน

ฮิปโปเครติส กล่าวว่า “ยาที่ดีที่สุดคือ การสอนให้รู้ว่าพวกเขาไม่จำเป็นต้องใช้ยา” นั่นหมายความว่า ยาอาจเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น หากเรามีสุขภาพและวิถีชีวิตที่ดี สามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆได้ ตัวเลือกหนึ่งที่เราสามารถป้องกันโรคคือร่างกายมีสุขภาวะที่ดี และเพื่อให้มีความสมดุลทางโภชนาการ เราจำเป็นต้องทราบปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน หรือที่เรียกว่า RDI โดยกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้กำหนด

"วิตามินเฉพาะบุคคล" ตอบโจทย์ความไม่สมดุลของสารอาหารรอง

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลของวิตามินและแร่ธาตุ

อะไรคือปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลของวิตามินและแร่ธาตุ

ปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ ปัจจัยภายนอกและภายใน

1. วิถีชีวิตสมัยใหม่ทำให้เกิดภาวะการขาดวิตามินและแร่ธาตุได้อย่างไร (ปัจจัยภายนอก)
 
วิตามินและแร่ธาตุมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโต การพัฒนา สภาวะสมดุลและสุขภาพที่ดีของมนุษย์ นอกจากนี้วิตามินและแร่ธาตุ ยังเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านโรคต่างๆ

มีวิตามิน 13 ชนิดโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือวิตามินที่ละลายในน้ำและละลายในไขมัน วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ กลุ่มของวิตามินบีและวิตามินซี ส่วนวิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ ดี อีและเค ตัวอย่างของแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม สังกะสี และเหล็ก

 

 

โดยทั่วไปแล้ว เราได้รับวิตามินและแร่ธาตุจากอาหารเป็นหลัก เช่น ผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ที่เรารับประทาน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเราบริโภคอาหารแปรรูปมากขึ้น เช่น ไส้กรอก อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และอาหารจานด่วน ซึ่งกระบวนการแปรรูปอาหารนี้เองเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายสลายตัวได้

 

 

นอกจากนี้ การทำฟาร์มสมัยใหม่ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้วิตามินและแร่ธาตุในพืชผลทางการเกษตรลดลง ซึ่งปัญหานี้ไม่เคยพบจากการทำเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม นั่นคือเหตุผลว่าทำไมวิถีชีวิตสมัยใหม่และนิสัยการกินที่เปลี่ยนไปของเราจึงทำให้เกิดความไม่สมดุลทางโภชนาการ

2. ร่างกายของเราตอบสนองต่ออาหารที่เรากินอย่างไร (ปัจจัยภายใน)

นอกจากปัจจัยภายนอกที่กล่าวมาแล้ว ความผันแปรทางพันธุกรรม เช่น รูปแบบของยีนที่แตกต่างกันก็ส่งผลให้แต่ละคนตอบสนองต่ออาหารและสารอาหารแตกต่างกันออกไป กล่าวคือ บางคนอาจดูดซึมสารอาหารบางชนิดได้ไม่ดีแม้ว่าจะรับประทานสารอาหารนั้นในปริมาณที่เท่ากับคนอื่นๆ ซึ่งนำไปสู่ภาวะขาดสารอาหารนั้นได้เช่นกัน

"วิตามินเฉพาะบุคคล" จากการให้บริการของ CARE

การให้บริการของ CARE เกิดขึ้นจากความร่วมมือของทีมบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร และนักโภชนาการ ด้วยเทคโนโลยีทาง DNA ที่ล้ำสมัยประกอบกับการวิจัยทางพันธุกรรมล่าสุด เราออกแบบวิตามินเฉพาะบุคคลที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน พร้อมด้วยคำแนะนำเฉพาะคุณจากทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของเรา เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนจะสามารถปลดล็อกสุขภาพที่ดีที่สุดของตนเองได้

เลือกแพ็กเกจวิตามินเฉพาะบุคคลที่คุณสนใจ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเราได้ทางเพจ facebook หรือ add line @geneus ได้เลยนะคะ

 

“การสร้างสุขภาพที่ดีนั้น ดีกว่าการรักษาโรคเป็นไหนๆ” -บรูซ แด็กกี้
“Let's build wellness rather than treat disease” a quote by Bruce Daggy.

 

References:

  1. Thaidietetics.org. 2022. [online] Available at: <https://www.thaidietetics.org/wp-content/uploads/2020/04/dri2563.pdf> [Accessed 28 April 2022].
  2. Weaver, C.M., Dwyer, J., Fulgoni III, V.L., King, J.C., Leveille, G.A., MacDonald, R.S., Ordovas, J. and Schnakenberg, D., 2014. Processed foods: contributions to nutrition. The American journal of clinical nutrition, 99(6), pp.1525-1542.
  3. Maqbool, M. A., Aslam, M., Akbar, W., & Iqbal, Z. (2017). Biological importance of vitamins for human health: A review. J. Agric. Basic Sci, 2(3), 50-58.
  4. Hathcock, J.N., 1997. Vitamins and minerals: efficacy and safety. The American journal of clinical nutrition, 66(2), pp.427-437.
  5. Berry, D. and Hyppönen, E., 2011. Determinants of vitamin D status: focus on genetic variations. Current opinion in nephrology and hypertension, 20(4), pp.331-336.
  6. Maggio, A., De Pascale, S., Paradiso, R. and Barbieri, G., 2013. Quality and nutritional value of vegetables from organic and conventional farming. Scientia Horticulturae, 164, pp.532-539.
  7. Monteiro, C.A., Levy, R.B., Claro, R.M., de Castro, I.R.R. and Cannon, G., 2010. Increasing consumption of ultra-processed foods and likely impact on human health: evidence from Brazil. Public health nutrition, 14(1), pp.5-13.
  8. Verkaik-Kloosterman, J., McCann, M. T., Hoekstra, J., & Verhagen, H. (2012). Vitamins and minerals: issues associated with too low and too high population intakes. Food & nutrition research, 56, 10.3402/for.v56i0.5728. https://doi.org/10.3402/fnr.v56i0.5728
chat line chat facebook