Rated 4.98-stars across 2K+ reviews
Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews

โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบที่ป้องกันได้ หากรู้ความเสี่ยงของตัวเอง

GeneusDNA profile image By
GeneusDNA
|
Jan 09, 2025
|
1.76 k
สุขภาพ
พันธุศาสตร์
โรคกระดูกพรุน, โรคกระดูกพรุน อาการ, osteoporosis คือ
Summary
โรคกระดูกพรุน, โรคกระดูกพรุน อาการ, osteoporosis คือ

ไขความลับ โรคกระดูกพรุน ปัญหาสุขภาพที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ พร้อมเจาะลึกอาการและวิธีป้องกันภาวะกระดูกเปราะบางที่ตรงจุดที่สุด

ชวนรู้จักภัยเงียบที่มีความร้ายแรงต่อร่างกายอย่าง "โรคกระดูกพรุน" ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก และเกิดขึ้นกับผู้คนได้มากกว่าที่คุณคิด แต่แม้จะเป็นโรคที่พบได้บ่อย ทว่าผู้คนมักไม่เข้าใจว่าโรคกระดูกพรุนคืออะไร และต้องเตรียมพร้อมรับมือยังไงบ้าง บทความนี้จึงจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนในแง่มุมต่างๆ พร้อมพาไปเจาะลึกสาเหตุ ความเสี่ยง และแนวทางการป้องกันโรคกระดูกพรุนอย่างถูกต้อง เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัย ตลอดจนรู้เท่าทันโรคนี้มากกว่าที่เคย

เปิดสาเหตุ โรคกระดูกพรุน เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมในครอบครัว

โรคกระดูกพรุนคืออะไร? อันตรายแค่ไหน

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือกลุ่มอาการที่สังเกตได้จากการที่กระดูกเป็นรูพรุน และมีความเปราะบาง (ภาพที่ 1) โดยโรคกระดูกพรุนนี้จะทำให้กระดูกในร่างกายเรามีความหนาแน่นของมวลกระดูกน้อย และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดความเปราะบางของกระดูกมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมักพบเจอได้บ่อยโดยเฉพาะบริเวณเอว และข้อต่างๆ

ทั้งนี้หากป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน ก็กลายเป็นภัยอันตรายที่สามารถก่อให้เกิดอาการรุนแรงได้หลายอย่าง อาทิ ปวดเรื้อรัง ทุพพลภาพ และทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง จนไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างปกติได้ เพราะจากสถิติที่ผ่านมาพบว่า ผู้ที่ป่วยด้วยโรคกระดูกพรุนมักประสบเหตุกระดูกหัก โดยในจำนวนนี้ส่วนมากจะเป็นกระดูกข้อสะโพก ซึ่งนำไปสู่ความพิการและการเสียชีวิตได้

 โรคกระดูกพรุนคืออะไร
ภาพที่ 1 ลักษณะของกระดูกปกติและกระดูกพรุน


ทำความเข้าใจกับลักษณะโครงสร้างของกระดูก

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจเรื่องกลไกโครงสร้างกระดูกกันก่อน เนื่องจากกระดูกเป็นอวัยวะที่สำคัญ และเป็นโครงร่างภายในร่างกายเรา ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงสร้างโดยรวมทั้งหมด ตลอดจนการทรงตัว และการเคลื่อนที่ของเราด้วย

ตามปกติแล้วกระดูกของเรามักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กระดูกแต่ละส่วนจะประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก โดยเนื้อเยื่อกระดูกจะมีการสร้างขึ้นใหม่เรื่อยๆ ซึ่งเนื้อเยื่อที่สร้างใหม่จะเข้ามาแทนที่เนื้อเยื่อกระดูกเก่าอยู่ตลอดเวลา เกิดเป็นกลไกการซ่อมแซม เพิ่มความแข็งแรง และความหนาแน่นของกระดูก

อย่างไรก็ตาม หากมีการสลายเนื้อเยื่อกระดูกเก่ามากเกินกว่าที่เนื้อเยื่อกระดูกใหม่จะสร้างมาแทนได้ ก็จะกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้ความหนาแน่นของเนื้อเยื่อกระดูกลดลง จนเกิดภาวะกระดูกพรุนนั่นเอง

สาเหตุโรคกระดูกพรุน เกิดจากอะไร

ภาพที่ 2 ลักษณะกระดูกที่ปกติและที่มีอาการกระดูกพรุน

สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน เกิดจากอะไรได้บ้าง

อย่างที่ทราบกันว่า โรคกระดูกพรุนเป็นภัยเงียบที่เกิดขึ้นกับผู้คนจำนวนมาก จึงได้มีการศึกษาจนค้นพบว่า มีความเสี่ยงหลายอย่างที่เป็นเงื่อนไขในการนำไปสู่โรคกระดูกพรุน ได้แก่

1. อายุ 

เนื่องจากเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น กระดูกของเราจะมีความหนาแน่นของเนื้อเยื่อน้อยลง จนทำให้เข้าสู่ภาวะกระดูกเปราะบาง จึงเป็นเหตุให้โรคกระดูกพรุนพบเจอมากเป็นพิเศษในกลุ่มผู้สูงอายุ

2. เพศ 

จากการศึกษาพบว่า เพศหญิงมีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนมากกว่าเพศชาย เนื่องจากเมื่อเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือน และเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย จะส่งผลต่อเนื้อเยื่อกระดูกอันเป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคกระดูกพรุนได้

3. ประวัติครอบครัว

พันธุกรรมมีผลอย่างมากต่อโรคกระดูกพรุน เพราะบุคคลที่มาจากครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคกระดูกพรุน มีโอกาสจะเกิดโรคกระดูกพรุนมากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากเป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่สามารถส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไปได้

4. การมีน้ำหนักน้อยเกินไปและขาดสารอาหาร

การที่มีน้ำหนักน้อยเกินไป ซึ่งสามารถประเมินได้จาก BMI และการขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามินดี และแคลเซียม ส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้

นอกจากนี้แล้ว เรายังมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนจากสาเหตุอื่นที่เกี่ยวข้องกับกลไกของร่างกาย และลักษณะวิถีชีวิตของเราด้วย 

สาเหตุและอาการโรคกระดูกพรุน

วิธีป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน

เมื่อเราเข้าใจสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุน ก็จะเริ่มเห็นแนวทางในการดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุนหรือภาวะกระดูกเปราะบางได้ ดังนี้

1. รักษาความสมดุลของอาหาร

บริโภคอาหารที่เต็มไปด้วยแคลเซียม เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียว และมีวิตามินดี ซึ่งสามารถหาได้จาก ปลา ไข่ และการได้รับแสงอาทิตย์ในยามเช้า

2. รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม

หนึ่งในวิธีรักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสมคือการออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การเดิน การวิ่ง หรือออกกำลังกายโดยการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซึ่งได้มีการศึกษามาแล้วว่าวิธีเหล่านี้จะช่วยลดภาวะกระดูกพรุนได้

3. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ 

การหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น รวมทั้งลดการเกิดกระดูกพรุนได้อีกด้วย

4. ตรวจร่างกายเป็นประจำ

การตรวจร่างกายเป็นประจำจะทำให้ทราบผลเกี่ยวกับความหนาแน่นของมวลกระดูก และค่าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้เราสามารถนำไปเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเราให้เหมาะสมมากขึ้นได้

จะเห็นได้ว่าแม้โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างมาก แต่ก็มีวิธีการต่างๆ มากมายในการป้องกันโรค และเสริมสร้างความหนาแน่นของกระดูก โดยนอกจากปัจจัยทางร่างกาย และพฤติกรรมต่างๆ ที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน โรคนี้ยังเกี่ยวข้อง และถูกควบคุมด้วยลักษณะพันธุกรรมของเราเช่นเดียวกัน ซึ่งการแสดงออกทางพันธุกรรมเหล่านี้จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

ดังนั้นหากเราทราบลักษณะทางพันธุกรรมของเรา ก็จะสามารถระมัดระวัง ตลอดจนลดความเสี่ยง และความรุนแรงของโรคกระดูกพรุน รวมถึงภาวะความผิดปกติทางกระดูกอื่นๆ ได้อย่างดียิ่งขึ้น

ตรวจดีเอ็นเอ หาพันธุกรรมความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนได้

ในปัจจุบันนี้เรามีเทคโนโลยีที่สามารถตรวจหาพันธุกรรมของลักษณะที่เกี่ยวข้องกับโรคกระดูกพรุน และโรคต่างๆ ได้ ด้วยบริการจาก Geneus DNA นวัตกรรมวิเคราะห์สุขภาพจาก DNA (ภาพที่ 3 และ 4) ซึ่งทำการถอดรหัสพันธุกรรมกว่า 20,000 ยีน ด้วยเทคโนโลยี Whole Genome-wide Array (วิเคราะห์จำนวน SNPs กว่า 10 ล้านตำแหน่ง) 

โดยผู้ที่เข้ารับบริการจาก Geneus DNA สามารถรู้ผลทางสุขภาพ และลักษณะทางพันธุกรรมได้มากกว่า 500+ รายการ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะทางกายภาพต่างๆ ตลอดจนความสามารถในการดูดซึมสารอาหาร ความเสี่ยงโรค อาการภูมิแพ้ การแพ้ยา และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถตรวจได้ทั้งครอบครัว โดยการตรวจเพียงครั้งเดียวสามารถติดตามการรายงานผลได้ตลอดชีวิต

นอกจากนี้แล้ว ทางบริการของ Geneus DNA ยังได้เลือกใช้ห้อง Lab มาตรฐานระดับโลกจาก USA มาทำการวิเคราะห์ผล จึงมีความแม่นยำสูง ทำให้ท่านสามารถรู้ปัญหาสุขภาพของตัวเองได้อย่างตรงจุดมากที่สุด

 

ตรวจ DNA ความเสี่ยง โรคกระดูกพรุน


 โรคกระดูกพรุน มีความเสี่ยงจากอะไรบ้าง


ภาพที่ 3 ตัวอย่างผลการตรวจ DNA เพื่อบอกแนวโน้มการเป็นโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกและข้อเสื่อม อาการ
ภาพที่ 4 ตัวอย่างผลการตรวจ DNA เพื่อบอกแนวโน้มลักษณะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโรคกระดูก


อ้างอิง

ภาพ

https://orthopedicnj.com/news/how-to-prevent-osteoporosis 

https://comportho.com/anti-aging/health-tip-risk-factors-for-male-osteoporosis/ 

https://osgpc.com/osteoporosis-causes-symptoms-and-risk-factors-i-osg/ 


ข้อมูล

  • Ahn AC, et al. New Advances in the Diagnosis and Treatment of Osteoporosis. JAMA. 2023;329(1):59-71.
  • Compston JE, et al. A Comprehensive Overview on Osteoporosis and Its Risk Factors. PMC. 2023;6225907.
  • Cosman F, et al. An Overview and Management of Osteoporosis. PMC. 2022;56070.
  • Kanis JA, et al. Clinical Diagnosis and Pharmacologic Management of Osteoporosis. N Engl J Med. 2022;387(27):2535-2546.
  • Watts NL, et al. Osteoporosis: A Review of Treatment Options. PMC. 2018;7(5):519–527.

 

 

chat line chat facebook