โรคอ้วน (Obesity) ไม่ได้เกิดจากการกินที่มากเกินไปเท่านั้น เจาะลึกโอกาสในการเกิดโรคอ้วนที่อาจแฝงมาในดีเอ็นเอ เพื่อดูแลร่างกายให้แข็งแรง ห่างไกลโรคแทรกซ้อนที่คาดไม่ถึง
โรคอ้วนกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่กวนใจผู้คนทั่วโลก พิสูจน์ได้จากสถิติเมื่อปี 2022 ที่แสดงให้เห็นว่า ประชากร 1 ใน 8 อยู่ในกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคอ้วน และในจำนวนนี้เพิ่มขึ้นจากเมื่อปี 1990 กว่าสองเท่าตัวเลยทีเดียว บทความนี้เลยจะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจว่า โรคอ้วนไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคเท่านั้น แต่ยังเกิดจากสภาพแวดล้อมและดีเอ็นเอหรือยีนอ้วนที่ส่งต่อกันในครอบครัวด้วย
โรคอ้วน (Obesity) คือโรคเรื้อรังที่เกิดจากปริมาณไขมันที่สะสมมากเกินไป จนทําให้สุขภาพแย่ลง และส่งผลต่อคุณภาพชีวิต เช่น การนอนหลับ หรือการเคลื่อนไหว เป็นต้น ทั้งนี้การวินิจฉัยโรคอ้วนจะมีความคาบเกี่ยวกับผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ซึ่งตัวชี้วัดว่าคนๆ นั้นเป็นโรคอ้วนหรือไม่ ก็คือการคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) จากน้ำหนักและส่วนสูงด้วยสูตร น้ำหนัก(kg)/ส่วนสูง² (m²) นั่นเอง
สำหรับตัวชี้วัดโรคอ้วนได้มีการระบุไว้ว่า ชาวเอเชียที่มีผล BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 25 จะถูกนับว่าเป็นโรคอ้วน ส่วนผู้ที่มีผลมากกว่าหรือเท่ากับ 23 แต่ไม่ถึง 24.9 จะถูกนับเป็นผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานเท่านั้น ในขณะที่เด็กจะต้องใช้อายุมาเป็นส่วนในการคำนวณเพิ่มเติมด้วย
อันตรายจากโรคอ้วนเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่สนใจแค่รูปลักษณ์ภายนอกที่เปลี่ยนไปเพราะโรคอ้วน แต่ในความเป็นจริงแล้วเมื่อเราเป็นโรคอ้วน เราก็จะเสี่ยงเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ ในเวลาเดียวกัน จนบางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว
โดยผู้ที่ป่วยเป็นโรคอ้วนอาจมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคเบาหวานประเภท 2 โรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งยังอาจส่งผลต่อสุขภาพกระดูกและการสืบพันธุ์ ตลอดจนมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งบางชนิดด้วย
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่บ่งชี้ว่า โรคอ้วนสามารถส่งผลกระทบต่อความเสถียรของจีโนม (Genome) หรือข้อมูลทางพันธุกรรมดีเอ็นเอ (DNA) โดยความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันและการอักเสบ ซึ่งมักเกิดขึ้นในโรคอ้วน สามารถทําให้เกิดความเสียหายต่อดีเอ็นเอและยับยั้งกลไกการซ่อมแซมดีเอ็นเอได้
เมื่อดีเอ็นเอเกิดความเสียหายก็จะนําไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในการแสดงออกของยีน ทั้งยังส่งผลให้เกิดการรบกวนในการเผาผลาญของเซลล์ พร้อมกระตุ้นการเจริญเติบโตของมะเร็ง ด้วยการสนับสนุนการแพร่กระจายและทำให้การกำจัดเซลล์มะเร็งกลายเป็นเรื่องที่ยากขึ้นเช่นกัน
หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า โรคอ้วนไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมการกินอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเกิดจากสภาพแวดล้อมโดยรอบและยีนในร่างกายของเราที่ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษในครอบครัวด้วย
โดยปกติแล้วในร่างกายของเราจะมียีนที่ส่งผลต่อน้ำหนักหรือโรคอ้วนมากกว่า 400 ยีน แต่มีเพียงแค่ไม่กี่ยีนเท่านั้นที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมร่างกายของเรา ซึ่งยีนเหล่านี้จะทำให้ร่างกายเราสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ความอยากอาหาร ความรู้สึกอิ่ม การเผาผลาญ ความหิว การกระจายไขมันในร่างกาย และแนวโน้มที่จะใช้การกินเป็นวิธีรับมือกับความเครียด
ทั้งนี้อิทธิพลของยีนที่นำไปสู่โรคอ้วน จะส่งผลต่อแต่ละคนแตกต่างกันออกไป โดยจากการวิจัยได้มีการค้นพบว่า บางคนได้รับผลกระทบจากยีนอ้วนเพียงแค่ 25% เท่านั้น ในขณะที่คนบางกลุ่มได้รับผลกระทบจากยีนอ้วนมากราว 70-80% จนกลายเป็นปัญหาในการบริโภคและการควบคุมน้ำหนักในระยะยาว
หนึ่งในยีนอ้วนที่เป็นปัญหาหลักต่อสุขภาพเราก็คือ FTO (Fat mass and obesity associated) ซึ่งจากงานวิจัยได้มีการระบุว่า ผู้ที่มียีน FTO มีโอกาสที่จะมีค่าดัชนีมวลกาย สัดส่วนไขมัน และขนาดรอบเอวสูงกว่าคนที่ไม่มียีนชนิดนี้
แต่ในปัจจุบันได้มีงานวิจัยเปิดเผยเพิ่มเติมว่า โรคอ้วนสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายยีน กล่าวคือในร่างกายของเรามียีนที่ควบคุมลักษณะใดลักษณะหนึ่งมากกว่าหนึ่งยีน ซึ่งหนึ่งในนั้นอาจเป็นยีน FTO และยีนอื่นๆ ที่ทำงานร่วมกัน ส่งผลให้ร่างกายของแต่ละบุคคล แสดงลักษณะรูปร่างต่างกันออกไป ซึ่งนักวิจัยของ Geneus DNA ได้นำข้อมูลพันธุกรรมจากหลายยีนเหล่านั้น มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์กับสถิติค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) และพบว่าการมียีนเหล่านั้นส่งผลทำให้มีโอกาสเป็นโรคอ้วนมากขึ้น
สำหรับท่านที่ต้องการรู้ว่าตัวเองมียีนอ้วนที่เสี่ยงทำให้น้ำหนักเกินเกณฑ์ จนเข้าข่ายเป็นโรคอ้วนหรือไม่ สามารถตรวจปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม ด้วยบริการจาก Geneus DNA แล้วรอติดตามสถานะ และอ่านรายงานผลผ่านแอปพลิเคชัน Geneus DNA ซึ่งจะบอกได้ว่าท่านมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วน และโรคอื่น ๆ หรือไม่
นอกจากนี้แล้ว Geneus DNA ยังจะช่วยทำให้ท่านทราบถึงโภชนาการที่ควรได้รับ ทั้งในเรื่องของอาหารและวิตามิน ตลอดจนให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง เพื่อสุขภาพที่ดีที่สุดของตัวท่านเองด้วย
อย่างที่ทราบกันดีว่าโรคอ้วนคือภาวะที่ปริมาณไขมันสะสมในร่างกายสูง ดังนั้นการป้องกันโรคอ้วนคือการเลือกบริโภคและเลือกทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับสุขภาพ สามารถเริ่มป้องกันได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ อาทิ
การดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคอ้วน ถือเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุด ในการปกป้องตัวเองจากสารพัดความเสี่ยงของโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
อ้างอิง
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6429223/
https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/why-people-become-overweight