Rated 4.98-stars across 2K+ reviews
Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews

สายตาสั้น ภาวะหน้าชัดหลังเบลอ อันตรายกว่าที่คิด

GeneusDNA profile image By
GeneusDNA
|
Jul 08, 2024
|
268
สุขภาพ
พันธุศาสตร์
สายตาสั้น, สายตาสั้นเกิดจาก, myopia คือ
Summary
สายตาสั้น, สายตาสั้นเกิดจาก, myopia คือ

อย่าปล่อยให้ปัญหาสายตาสั้น กลายเป็นจุดเริ่มต้นของโรคที่คาดไม่ถึง ดูแลตัวเองพร้อมวางแผนอนาคตให้ลูก ด้วยการทำความเข้าใจว่าสายตาสั้นเกิดจากอะไร และต้องเตรียมพร้อมรับมือยังไงบ้าง

เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางคนถึงสายตาสั้นจนใช้ชีวิตลำบาก เพราะต้องคอยใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์ตลอดเวลา ในขณะที่คนส่วนใหญ่มีค่าสายตาปกติ บทความนี้จะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจว่า สายตาสั้นเกิดจากอะไร มีที่มาจากดีเอ็นเอที่ส่งต่อกันในครอบครัวจริงไหม เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการรับมือ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่สายตาสั้นและห่วงว่าลูกน้อยในอนาคตจะมีปัญหาทางสายตาไปด้วยอีกคน

ภาวะสายตาสั้นคืออะไร ทำไมถึงมีค่าสายตาไม่เหมือนคนอื่น?

สายตาสั้น (nearsighted) คืออาการของผู้ที่มองเห็นสิ่งต่างๆ ในระยะใกล้ได้ชัด แต่มองเห็นสิ่งที่อยู่ระยะไกลออกไปได้ไม่ชัด โดยจะเห็นเป็นเพียงภาพเบลอๆ เท่านั้น ซึ่งในทางการแพทย์เราจะเรียกภาวะสายตาสั้นแบบนี้ว่า Myopia (อ่านว่า ไม-โอ-เพีย) 

อาการสายตาสั้นจะเริ่มพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ช่วงวัยเด็กจนถึงวัยรุ่น ก่อนจะค่อยๆ มีค่าสายตาที่แน่นอนขึ้นในช่วงอายุ 20-40 ปี ซึ่งอาการสายตาสั้นนี้สามารถส่งต่อกันได้โดยตรงภายในครอบครัว 

ทั้งนี้ภาวะสายตาสั้นเกิดขึ้นกับผู้คนจำนวนมาก ซึ่งอาการนี้ถูกจัดเป็นความผิดปกติด้านการโฟกัสของสายตา (eye focus disorder) สามารถแก้ไขได้หลายวิธี เช่น สวมแว่นสายตา ใส่คอนแท็กเลนส์ หรือผ่าตัดดวงตา (ทำเลสิก) เป็นต้น


สายตาสั้นเกิดจากอะไรกันแน่?

อาการสายตาสั้น เกิดขึ้นจากการที่รูปร่างของบางส่วนในดวงตาทําให้รังสีแสงโค้งงอหรือหักเหไปจากปกติ  ส่งผลให้รังสีแสงที่ควรหักเหเข้าสู่จอประสาทตา (หรือที่เรียกว่าเรตินา) ไปตกตำแหน่งด้านหน้าของเรตินาแทน จนทำให้การมองเห็นผิดเพี้ยนต่างจากคนอื่น และมองเห็นสิ่งที่อยู่ระยะใกล้ได้ชัด แต่มองเห็นสิ่งที่ไกลออกไปเป็นภาพเบลอๆ

สายตาสั้นเกิดจากอะไรกันแน่

สำหรับสาเหตุของอาการสายตาสั้น โดยปกติสายตาสั้นจะเกิดจากการที่ลูกสืบทอดพันธุกรรมจากพ่อหรือแม่ที่สายตาสั้นโดยตรง โดยผู้เชี่ยวชาญยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่า ปัจจัยแรกเริ่มของพันธุกรรมลักษณะนี้เกิดจากอะไร มีเพียงการคาดการณ์ว่า ภาวะสายตาสั้นในยุคบรรพบุรุษรุ่นแรกเริ่ม อาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมที่ผสมผสานกับสภาพแวดล้อม จนนำไปสู่การส่งต่อกันในครอบครัวผ่านดีเอ็นเอ (DNA)

นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนบางกลุ่ม อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะสายตาสั้นได้ เช่น การใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานติดต่อกัน ผสมผสานกับการมีดีเอ็นเอสายตาสั้น จากครอบครัวฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ก็จะยิ่งทำให้บุคคลนั้นพัฒนาค่าสายตาจนมีความผิดปกติไปจากเดิมได้เช่นกัน

แต่โดยทั่วไปแล้วอาการสายตาสั้นจะปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งค่าสายตาจะค่อยๆ แย่ขึ้นในช่วงที่กำลังเติบโต ก่อนจะมีค่าสายตาที่เสถียรในช่วงวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยทำงาน

อาการที่บ่งชี้ว่าสายตาสั้น

อาการที่บ่งชี้ว่าสายตาสั้น หรือมีความผิดปกติในการมองเห็น

สำหรับผู้ที่ยังไม่มั่นใจว่าตัวเองสายตาสั้นหรือไม่ ให้ลองสังเกตอาการแวดล้อม ดังต่อไปนี้

  • มองเห็นสิ่งที่อยู่ระยะใกล้ได้ชัด แต่เห็นสิ่งที่อยู่ระยะไกลแบบเบลอๆ
  • ปวดหัวเมื่อใช้สายตา
  • ปวดตาบ่อยๆ
  • ต้องหรี่ตาเมื่อทำสิ่งต่างๆ
  • เหนื่อยล้าเมื่อขับรถ เล่นกีฬา หรือมองไปยังสิ่งต่างๆ ในระยะไกล
  • สำหรับเด็กอาจมีอาการถือสิ่งของใกล้ใบหน้าบ่อยผิดปกติ

อย่าให้สายตาสั้นกลายเป็นจุดเริ่มต้นของสารพัดโรค รู้ก่อน ป้องกันได้

อันตรายจากโรคสายตาสั้น

โรคสายตาสั้นไม่เพียงแต่ทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ แบบเลือนลาง แต่ยังเป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคหรืออาการบาดเจ็บเกี่ยวข้องกับดวงตาอีกหลายอย่าง ดังนี้

  • โรคต้อกระจก (Cataracts)
  • โรคต้อหิน (Glaucoma)
  • โรคระบบประสาทตา (Optic neuropathy)
  • โรคหลอดเลือดในดวงตา (Neovascularization)
  • จอประสาทตาหลุด (Retinal detachment)

อันตรายจากโรคสายตาสั้น

วิธีป้องกันโรคสายตาสั้น

การป้องกันโรคสายตาสั้นเป็นไปได้ยาก เพราะสายตาสั้นเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งต่อผ่านยีนในครอบครัว ทำให้ไม่มีวิธีหลีกเลี่ยงที่ได้ผลร้อยเปอร์เซ็น แต่ถึงอย่างนั้น เราก็ยังพอจะสามารถลดความเสี่ยงของคนรุ่นต่อไปที่มีโอกาสเป็นโรคสายตาสั้นให้น้อยลงได้บ้าง

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่า เราสามารถลดความเสี่ยงไม่ให้ลูกสายตาสั้นได้ด้วยการเปลี่ยนวิธีเลี้ยงดู เช่น การจำกัดเวลาในการดูการ์ตูนหรือเล่นโทรศัพท์มือถือ เพิ่มกิจกรรมนอกบ้านให้ลูกได้พักสายตา และพยายามจับเวลาการทำงานที่ต้องใช้สายตาเพ่งเล็งจนอาจกระทบสุขภาพดวงตา เช่น งานเย็บปัก เป็นต้น

ดังนั้นหากใครที่รู้สึกว่าสายตาตัวเองผิดปกติ หรือมีแนวโน้มที่จะสายตาสั้น อย่าลืมตรวจสุขภาพสายตาของตัวเองให้แน่ชัด เพื่อที่จะได้หาแนวทางในการปกป้องดวงตา และลดโอกาสการเกิดโรคทางสายตาที่ไม่คาดคิดในอนาคต

ทั้งนี้ผู้ที่มีความกังวลว่า ปัญหาสายตาสั้นจะนำไปสู่ความเสี่ยงทางสุขภาพที่มากขึ้นในอนาคต สามารถเตรียมความพร้อมในการรับมือ ด้วยการตรวจหาแนวโน้มโรคสายตาสั้นได้ตั้งแต่เนิ่นๆ 

ตรวจหาความเสี่ยง โรคสายตาสั้น จากผลดีเอ็นเอ

ตรวจหาความเสี่ยงโรคสายตาสั้น จากผลดีเอ็นเอ (DNA)

การรู้ความเสี่ยงว่าตัวเองมีโอกาสสายตาสั้นหรือไม่ ทำให้สามารถวางแผนชีวิตได้ง่ายมากขึ้น เพราะไม่เพียงแต่จะนำไปเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตัวเอง แต่ยังครอบคลุมไปจนถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับลูกในอนาคตด้วย

สำหรับวิธีการหาความเสี่ยงโรคสายตาสั้น (Myopia) สามารถทำได้โดยการใช้บริการของ Geneus DNA หลังจากนั้นให้รอผลจากแล็บประเทศสหรัฐอเมริกา เพียง 2 สัปดาห์ โดยท่านสามารถติดตามสถานะ และอ่านรายงานผลผ่านแอปพลิเคชัน Geneus DNA ได้ตลอดชีวิต ซึ่งจะบอกทั้งความเสี่ยง ตลอดจนข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพดวงตา โดยสามารถตรวจได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ทำให้สามารถรับรู้ผลสุขภาพได้ทั้งครอบครัวเลยทีเดียว

บริการ Geneus DNA

สั่งซื้อ Geneus DNA

อ้างอิง

https://www.webmd.com/eye-health/nearsightedness-myopia 

https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/nearsightedness/symptoms-causes/syc-20375556#:~:text=Nearsightedness%20is%20a%20common%20vision,rays%20to%20bend%20or%20refract

https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/8579-myopia-nearsightedness 

 

 

chat line chat facebook