Rated 4.98-stars across 2K+ reviews
Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews

รอยแผลคีลอยด์ เกิดจากอะไร ต้องรักษายังไงให้หาย?

GeneusDNA profile image By
GeneusDNA
|
Sep 26, 2024
|
1.87 k
สุขภาพ
พันธุศาสตร์
รอยแผลคีลอยด์, แผลเป็น คีลอยด์, คีลอยด์ เกิดจาก, คีลอยด์ รักษา
Summary
รอยแผลคีลอยด์, แผลเป็น คีลอยด์, คีลอยด์ เกิดจาก, คีลอยด์ รักษา

รู้หรือไม่? รอยแผลเป็นคีลอยด์สามารถป้องกันได้ เจาะลึกสาเหตุ และวิธีจัดการรอยแผลเป็นคีลอยด์ ไม่ให้กลายเป็นแผลนูนหรือมีสีเข้ม ต้องทำยังไง อ่านพร้อมกันได้ที่นี่

รอยแผลเป็นคีลอยด์เป็นปัญหาผิวที่ทำให้หลายคนรู้สึกไม่มั่นใจในรูปร่าง และความเรียบเนียนของผิวหนัง เพราะรอยแผลคีลอยด์มีขนาดใหญ่ และมักจะนูนออกมาจากผิวหนัง ทั้งยังมีสีที่เข้มกว่าสีผิวปกติ จนทำให้มองเห็นได้ชัด และอาจมีอาการคันร่วมด้วย บทความนี้จึงจะพาคุณไปทำความรู้จักกับคีลอยด์ และวิธีการรักษารอยแผลคีลอยด์ เพื่อให้กลับมามั่นใจในตัวเองอีกครั้ง

ทำไมบางคนมีรอยแผลคีลอยด์? บทความนี้มีคำตอบ

รอยแผลเป็นคีลอยด์คืออะไร?

คีลอยด์ (Keloid) คือ รอยแผลเป็นที่มีการเจริญเติบโตมากเกินไป ทำให้รอยแผลขยายตัวใหญ่กว่า รอยแผลเดิมที่เกิดขึ้น มักจะมีลักษณะนูน เงา และมีสีเข้มกว่าสีผิวหนังปกติ รอยแผลคีลอยด์มักจะเกิดขึ้น เมื่อแผลสมานและใกล้จะหายดี ซึ่งจะพบเจอได้บ่อยในกลุ่มคนที่มีผิวคล้ำ และมักเกิดในคนที่อายุต่ำกว่า 30 ปี

คีลอยด์สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกบริเวณของร่างกาย แต่บริเวณที่พบบ่อย ได้แก่ หู แก้ม หน้าอก ไหล่ และต้นแขน ซึ่งพื้นที่เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเกิดคีลอยด์สูง และบางครั้งรอยแผลเป็นคีลอยด์ อาจทำให้เกิดความไม่สะดวกในชีวิตประจำวัน เช่น มีอาการคันหรือเจ็บ ตลอดจนสร้างความไม่มั่นใจให้เราได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดรอยแผลคีลอยด์

ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการทราบสาเหตุที่แน่ชัด ว่าอะไรทำให้เกิดรอยแผลคีลอยด์ แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจเพิ่มความเสี่ยง ในการเกิดรอยแผลคีลอยด์ได้ ดังนี้

  • การเจาะร่างกาย เช่น การเจาะหู
  • การสักลาย
  • สิวหรืออีสุกอีใส (มักเกิดในบริเวณหน้า อก หรือหลัง)
  • แผลจากการถูกไฟไหม้ ถูกของมีคมบาด หรือโดนแมลงกัด
  • แผลลึกจากการผ่าตัดหรือการทำหัตถการ
  • โรคผิวหนังที่ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น โรคผิวหนังอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (folliculitis)

นอกจากนี้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม เชื้อชาติ อายุ ก็อาจมีผลตัวการเกิดรอยแผลคีลอยด์ได้ เช่น

  • ผิวคล้ำ
  • เชื้อชาติเอเชียหรือละติน
  • มีประวัติการเกิดคีลอยด์ในครอบครัว
  • อายุระหว่าง 10 ถึง 30 ปี
  • การตั้งครรภ์

สาเหตุที่ทำให้เกิดรอยแผลคีลอยด์

วิธีรักษารอยแผลคีลอยด์

การรักษาคีลอยด์สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับขนาดของรอยแผล โดยวิธีที่ได้รับความนิยม และมีประสิทธิภาพ ได้แก่

  1. การฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid Injections): ยาจะถูกฉีดเข้าสู่รอยแผลโดยตรง วิธีนี้มักเป็นวิธีแรกที่ใช้ในการรักษาคีลอยด์ ซึ่งหลายคนพบว่า รอยแผลมีขนาดเล็กลงหลังการรักษา
  2. การผ่าตัดคีลอยด์ (Surgical Keloid Removal): การผ่าตัดเป็นวิธีที่สามารถใช้ เพื่อลดขนาดของคีลอยด์ได้ แต่มักต้องทำร่วมกับการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์หรือวิธีอื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดคีลอยด์ใหม่
  3. การใช้ซิลิโคนปิดรอยแผล (Silicone Dressings): แผ่นซิลิโคนถูกนำมาใช้ ในการปิดทับรอยแผล เพื่อช่วยลดขนาดของคีลอยด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. การบีบอัดแผลคีลอยด์ (Compression): การใช้แม่พิมพ์ที่ออกแบบมาเฉพาะเพื่อบีบอัดรอยแผล ทำให้คีลอยด์ยุบตัวลงเมื่อเวลาผ่านไปได้
  5. การบำบัดด้วยความเย็น (Cryotherapy): การใช้ไนโตรเจนเหลวรักษา เพื่อทำให้คีลอยด์เย็นลง จะช่วยส่งผลให้ขนาดของรอยแผลเล็กลงได้เช่นกัน
  6. การบำบัดด้วยอินเตอร์เฟอรอนหรือ 5-ฟลูออโรรูราซิล (Interferon or 5-fluorouracil Therapy): ยาเหล่านี้ถูกฉีดเข้าไปในรอยแผล เพื่อช่วยลดขนาดคีลอยด์
  7. การบำบัดด้วยอิมิควิโมด (Imiquimod Therapy): ครีมนี้ถูกใช้ในการทาบริเวณที่มีคีลอยด์ เพื่อลดขนาดหรือป้องกันไม่ให้คีลอยด์เกิดขึ้นหลังการผ่าตัด

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการรักษาเหล่านี้จะได้ผลในบางครั้ง แต่ก็ไม่สามารถรับรองได้ว่า จะทำให้คีลอยด์หายขาดได้เสมอไป คีลอยด์มักจะกลับมาเกิดใหม่หลังการรักษา ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม

การป้องกันการเกิดรอยแผลคีลอยด์

เคยสังเกตไหมว่า ทำไมบางคนมีรอยแผลคีลอยด์? การป้องกันการเกิดคีลอยด์เป็นเรื่องที่สำคัญ โดยหากมีคนในครอบครัวที่มีรอยแผลคีลอยด์ คุณเองก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งควรปฏิบัติตามวิธีการเหล่านี้ เพื่อป้องกันรอยแผลคีลอยด์

  1. หลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่ผิวหนัง เช่น การเจาะร่างกาย หรือการสักลาย
  2. ดูแลแผลอย่างดีหลังการบาดเจ็บหรือการผ่าตัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  3. ใช้เสื้อผ้าหรือแผ่นซิลิโคนปิดแผล เพื่อสร้างแรงกด และลดความเสี่ยงในการเกิดคีลอยด์
  4. ทาครีมกันแดดเพื่อป้องกันไม่ให้รอยแผลเป็นเข้มขึ้น
  5. นวดบริเวณใกล้เคียงรอยแผลวันละ 10 นาที เพื่อลดโอกาสในการเกิดคีลอยด์

การป้องกันการเกิดรอยแผลคีลอยด์

การตรวจยีนหาแนวโน้มความเสี่ยงในการเกิดคีลอยด์

การทราบถึงความเสี่ยงในการเกิดคีลอยด์ สามารถช่วยให้คุณเตรียมพร้อม และดำเนินการป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ หนึ่งในวิธีที่ทันสมัยในการตรวจสอบความเสี่ยงนี้ คือการตรวจยีนด้วยเทคโนโลยี Whole Genome-wide Array จาก Geneus DNA ซึ่งมีความสามารถในการวิเคราะห์จำนวน SNPs กว่า 10 ล้านตำแหน่ง โดยเทคโนโลยีนี้เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย และครอบคลุมมากที่สุดในการศึกษาพันธุกรรม ทำให้คุณสามารถรู้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองได้อย่างละเอียด

บริการตรวจยีนของ Geneus DNA ไม่เพียงแค่ตรวจสอบความเสี่ยงของการเกิดรอยแผลคีลอยด์ แต่ยังให้ข้อมูลที่ครบถ้วนเกี่ยวกับแนวโน้มความเสี่ยงโรคต่างๆ รวมถึงโภชนาการที่ควรได้รับ การพักผ่อน และการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตัวคุณเองด้วย สิ่งเหล่านี้ช่วยให้คุณสามารถวางแผนการดูแลสุขภาพให้เหมาะสม กับความต้องการของร่างกายตัวเองมากที่สุด

การตรวจยีนเพื่อหาแนวโน้มความเสี่ยงในการเกิดคีลอยด์ สามารถช่วยให้คุณทราบถึงปัจจัยทางพันธุกรรมที่มีผลต่อการเกิดคีลอยด์ ซึ่งหากคุณมีความเสี่ยงสูง คุณสามารถปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง เพื่อวางแผนการป้องกันและการดูแลที่เหมาะสม เช่น การเลือกวิธีการรักษาหรือผ่าตัดเมื่อป่วยที่ไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บผิวหนังเกินจำเป็น ทั้งยังช่วยให้คุณมีข้อมูลในการตัดสินใจ เรื่องการดูแลสุขภาพผิวหนังของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

chat line chat facebook