how long does it take for supplements to work

คุณเคยสงสัยไหมว่า ต้องทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนานแค่ไหน จึงจะเห็นผลดีที่ชัดเจนต่อร่างกาย

คุณเคยสงสัยไหมว่า ต้องทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนานแค่ไหน จึงจะเห็นผลดีที่ชัดเจนต่อร่างกาย

หนึ่งวัน สามสัปดาห์ เป็นเดือน หรือนานกว่านั้น? จริงๆ แล้วมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาเห็นผลดีต่อสุขภาพจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

ความสามารถของดูดซึมสารอาหารในร่างกาย ขึ้นอยู่กับชนิดและปฏิกิริยาระหว่างสารอาหาร เช่นวิตามินที่ละลายน้ำได้ เช่น วิตามินซี ร่างกายสามารถดูดซึมได้ในไม่กี่นาทีและส่งผลต่อเมตาบอลิซึมได้ทันที แต่วิตามินที่ละลายในไขมันบางชนิด เช่น วิตามินดี อาจใช้ระยะเวลานานกว่าจะเห็นผล

 

 

ทีม CARE ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับปริมาณวิตามินที่เหมาะสมไว้ในหัวข้อ "การกินอาหารเสริมปริมาณมากแค่ไหนจึงจะเหมาะสมกับร่างกาย"

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การทานอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ

 

อย่าลืมว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยา!!

 

 

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของคุณได้อย่างดีเมื่อรับประทานอย่างต่อเนื่อง

 

การทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ต่อเนื่องเป็นกิจวัตรประจำวัน จะมีประโยชน์ต่อร่างกายของคุณมากที่สุด ทำให้คุณมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน

 

การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่อเนื่อง 4-6 สัปดาห์ ขึ้นไป ส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างชัดเจน

การลืมรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพียงไม่กี่วัน อาจจะไม่ส่งผลเสียร้ายแรง แต่หากไม่ได้ทานติดต่อกันหลายวัน อาจทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงเหมือนก่อนหน้า

นอกจากนี้ ความสามารถในการดูดซึมนั้นก็แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ส่วนประสิทธิภาพ ขึ้นอยู่กับการออกฤทธิ์ร่วมกันของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแต่ละชนิด นอกจากนี้ยังมีปัจจัยทางชีวภาพหรือปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อการดูดซึมวิตามิน ได้แก่ อายุ เพศ การย่อยอาหาร อาหารที่รับประทาน และโรคประจำตัว

 

 

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กับภาวะขาดสารอาหาร

แม้ว่าร่างกายของเราต้องการสารอาหารรอง (วิตามินและแร่ธาตุ) เพียงเล็กน้อยแต่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า เราควรสังเกตอาการของภาวะขาดสารอาหารเนื่องจากภาวะขาดสารอาหารเล็กน้อยอาจไม่มีสัญญาณเตือนหรืออาการที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม หากอยู่ในภาวะขาดสารอาหารเป็นเวลานานมักทำให้เหนื่อยล้า อ่อนแรง เวียนศีรษะ ผิวและเล็บผิดปกติ

อีกอย่างหนึ่ง การทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแล้วเห็นผลดีต่อสุขภาพยังขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของภาวะขาดสารอาหาร หมายความว่า หากคุณมีปัญหาสุขภาพคุณจำเป็นต้องทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในปริมาณที่มากขึ้น

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ประเภทวิตามิน

วิตามินที่ละลายในน้ำและวิตามินที่ละลายในไขมัน

ความต้องการวิตามิน ในแต่ละคนนั้นอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ อายุ เพศ พันธุกรรม และระดับวิตามินในร่างกายของคุณ

วิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินเอ ดี อี เค ต้องการอาหารจำพวกไขมันเพื่อดูดซึมวิตามินเหล่านี้ ดังนั้น หากต้องการทานวิตามินเหล่านี้ให้ได้ผลที่ชัดเจน ควรรับประทานหลังอาหาร

ในทางกลับกันวิตามินที่ละลายในน้ำ (วิตามินซี และ บี) จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย และเห็นผลได้ชัดเจนอย่างรวดเร็ว

 

 

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ประเภทแร่ธาตุ

เราต้องการแร่ธาตุในปริมาณเพียงเล็กน้อยและส่วนใหญ่ได้มาจากอาหาร อย่างไรก็ตาม แร่ธาตุมีหน้าที่สำคัญคือส่งเสริมการทำงานของเอ็นไซม์ หรือที่เรียกว่า "โคเอ็นไซม์" จึงช่วยควบคุมการเผาผลาญและปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย แร่ธาตุ ได้แก่ ทองแดง โครเมียม ซีลีเนียม แมงกานีส และโมลิบดีนัม เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีทองแดงและแมงกานีส ส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเตส (SOD2) ที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ และป้องกันความเสียหายต่อเยื่อหุ้มเซลล์

อย่างไรก็ตาม คุณควรรู้จัก ค่า RDA หรือ ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคในแต่ละวัน คุณจะได้ไม่ทานเกินความต้องการมากเกินไปและก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมายตามมา สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ "การกินอาหารเสริมปริมาณมากแค่ไหนจึงจะเหมาะสมกับร่างกาย"

 

 

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ประเภท พรีไบโอติกและโพรไบโอติก

 

คุณรู้หรือไม่ว่า?!!! โพรไบโอติก สำคัญพอๆ กับ พรีไบโอติก เพื่อช่วยให้มีลำไส้ที่ดี??

 

คนที่ไม่ทานผักและผลไม้ หรืออาหารหมักดอง เช่น โยเกิร์ต คีเฟอร์ และนมเปรี้ยว หรือทานอาหารเหล่านี้น้อย หรือผู้ที่มีภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่ได้ ควรทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทโพรไบโอติกเพื่อสุขภาพที่ดี

 

 

พลังของพรีไบโอติกและโพรไบโอติก (probiotic and prebiotic)

พรีไบโอติกและโพรไบโอติก..ดีต่อสุขภาพลำไส้อย่างไร??

พรีไบโอติก คือ แหล่งอาหารของจุลินทรีย์ที่ช่วยปรับสมดุลของลำไส้ พรีไบโอติกพบได้ในกล้วย กระเทียม หัวหอม ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต และถั่วเหลือง เป็นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำและร่างกายไม่สามารถย่อยได้ แต่เป็นแหล่งอาหารของแบคทีเรียและยีสต์ชนิดดีหรือที่เรียกกันว่า "โพรไบโอติก" นอกจากนี้ยังช่วยให้ลำไส้มีสุขภาพดี

นอกจากนี้ โพรไบโอติกยังสามารถผลิตกรดไขมันสายสั้น (SCFA) ซึ่งช่วยปรับสมดุลลำไส้ การทานโพรไบโอติกและพรีไบโอติกจะเห็นผลได้ดีหลังทาน 3-4 สัปดาห์ เนื่องจากโพรไบโอติกต้องใช้เวลาในการเพิ่มจำนวนในร่างกายและลดจำนวนแบคทีเรียชนิดไม่ดีที่เป็นสาเหตุของลำไส้อักเสบ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทางคลินิกที่ยืนยันว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติกและพรีไบโอติกช่วยป้องกันการติดเชื้อในเยื่อบุลำไส้ และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้อีกด้วย

 

การทานโพรไบโอติกและพรีไบโอติกจะเห็นผลได้ดีหลังทาน 3-4 สัปดาห์ เนื่องจากโพรไบโอติกต้องใช้เวลาในการเพิ่มจำนวนและลดจำนวนแบคทีเรียชนิดไม่ดี

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ "Prebiotic และ Probiotic ต่างกันอย่างไร และหลักการเลือกซื้อ ?" ได้ที่นี่

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และระยะเวลาหลังทานที่เห็นผลอย่างชัดเจน

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพแนะนำว่าอาจใช้เวลา 4 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน สำหรับการประเมินประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ทานอยู่ โดยประสิทธิภาพนี้อาจจะแตกต่างกันไปตามปัจจัยทางชีวภาพและสภาวะร่างกาย ดังนั้นแนะนำว่าก่อนรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อคัดสรรชนิดและปริมาณให้สอดคล้องกับภาวะโภชนาการเพื่อให้คุณบรรลุเป้าหมายด้านสุขภาพของคุณมากที่สุด

"วิตามินตามDNA" และ บริการของ CARE

บริการของ CARE เกิดขึ้นจากความร่วมมือของทีมบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร และนักโภชนาการ ด้วยเทคโนโลยีทาง DNA ที่ล้ำสมัยประกอบกับการวิจัยทางพันธุกรรมล่าสุด เราออกแบบวิตามินเฉพาะบุคคลที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน พร้อมด้วยคำแนะนำเฉพาะคุณจากทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของเรา เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนจะสามารถปลดล็อกสุขภาพที่ดีที่สุดของตนเองได้

เลือกแพ็กเกจวิตามินเฉพาะบุคคลที่คุณสนใจ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเราได้ทางเพจ facebook หรือ add line @geneus ได้เลยนะคะ

 

References:

  1. Elvehjem, C. A. (1943). Recent Advances in Our Knowledge of the Vitamins. The Scientific Monthly, 56(2), 99-104.
  2. Kasahara, M., & Kawashima, K. (1937). Absorption of vitamin C through the skin. Klinische Wochenschrift, 16, 135-136.
  3. Rifkin, E., & Lazris, A. (2015). Vitamins and Supplements. In Interpreting Health Benefits and Risks (pp. 203-212). Springer, Cham.
  4. Li, K., Kaaks, R., Linseisen, J., & Rohrmann, S. (2010). Consistency of vitamin and/or mineral supplement use and demographic, lifestyle and health-status predictors: findings from the European Prospective Investigation into Cancer and Nutrition (EPIC)-Heidelberg cohort. British journal of nutrition, 104(7), 1058-1064.
  5. Borel, P. (2003). Factors affecting intestinal absorption of highly lipophilic food microconstituents (fat-soluble vitamins, carotenoids and phytosterols).
  6. Ritchie, H., & Roser, M. (2017). Micronutrient deficiency. Our World in data.
  7. Moreno, P., & Salvado, V. (2000). Determination of eight water-and fat-soluble vitamins in multi-vitamin pharmaceutical formulations by high-performance liquid chromatography. Journal of chromatography A, 870(1-2), 207-215.
  8. SOBAL, J., & DALY, M. P. (1990). Vitamin/mineral supplement use among general practice patients in the United Kingdom. Family practice, 7(3), 181-183.
  9. Quigley, E. M. (2019). Prebiotics and probiotics in digestive health. Clinical Gastroenterology and Hepatology, 17(2), 333-344.
  10. Tuohy, K. M., Probert, H. M., Smejkal, C. W., & Gibson, G. R. (2003). Using probiotics and prebiotics to improve gut health. Drug discovery today, 8(15), 692-700.