รวม 5 โรคที่มากับน้ำท่วม มีอะไรบ้าง พร้อมวิธีสังเกตอาการ และอันตรายหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ช่วงนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ ซึ่งไม่เพียงแต่นำมาซึ่ง ความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคม แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ที่มากับน้ำท่วมอีกด้วย การเตรียมพร้อมและรู้จักป้องกันตัวเองจากโรคที่มากับน้ำท่วม จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรให้ความสนใจ บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ โรคที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม พร้อมวิธีป้องกัน เพื่อให้คุณและครอบครัวปลอดภัยมากขึ้น
โรคน้ำกัดเท้าหรือโรคเท้าเปื่อย มักเกิดขึ้นเมื่อเท้าสัมผัสกับน้ำสกปรกเป็นเวลานาน โดยอาการเริ่มต้นของโรคน้ำกัดเท้า คือ การคัน แดง และแสบร้อนที่เท้า ผิวหนังจะเกิดการอักเสบ และถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดแผลเปื่อย หรือแผลลึกจนทำให้เท้าบวม และรู้สึกปวดเมื่อเดิน
อันตรายจากโรคน้ำกัดเท้า
โรคน้ำกัดเท้าถือเป็นอันตรายหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา เนื่องจากการติดเชื้อที่เท้า อาจลุกลามจนต้องตัดส่วนที่ติดเชื้อออก นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อรา และแบคทีเรียที่ทำให้การรักษายุ่งยากขึ้น จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตได้
โรคฉี่หนู คือหนึ่งในโรคยอดฮิตที่มากับน้ำท่วม ซึ่งโรคฉี่หนูเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปรา (Leptospira) ผ่านการสัมผัสกับน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ อาการเริ่มแรกของโรคฉี่หนู มักเป็นไข้สูง ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณน่อง โดยบางรายอาจมีอาการตาแดง และอาจมีผื่นขึ้นตามร่างกายด้วย
อันตรายจากโรคฉี่หนู
โรคฉี่หนูสามารถรุนแรงจนถึงขั้นไตวาย ตับอักเสบ หรือติดเชื้อในกระแสเลือด และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้
โรคตาแดงเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายจากการสัมผัสน้ำสกปรก หรือการใช้ของร่วมกับผู้ป่วย อาการของโรคตาแดง ได้แก่ ตาแดง เคืองตา มีน้ำตาไหลมาก และมีขี้ตาสีขาวหรือสีเหลือง ซึ่งอาจทำให้ตาแฉะ และรู้สึกไม่สบายตา
อันตรายจากโรคตาแดง
โรคตาแดงแม้จะไม่ใช่โรคที่รุนแรงมาก แต่หากปล่อยไว้จนติดเชื้อในชั้นลึกของตา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นได้
โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายโดยยุงลาย อาการเริ่มต้นของโรคไข้เลือดออก ได้แก่ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อและข้อ มีผื่นขึ้นตามร่างกาย บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ และอาเจียนร่วมด้วย
อันตรายจากโรคไข้เลือดออก
หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที โรคไข้เลือดออกสามารถพัฒนาไปสู่ภาวะช็อก จากการสูญเสียเลือดและน้ำในร่างกาย ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
โรคอุจจาระร่วงเกิดจากการบริโภคน้ำ หรืออาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น เชื้ออีโคไล (E. coli) หรือไวรัสโรตา (Rotavirus) อาการของโรคอุจจาระร่วง ประกอบด้วย ท้องเสียเฉียบพลัน ปวดท้อง อาเจียน และอาจมีไข้สูงร่วมด้วย
อันตรายจากโรคอุจจาระร่วง
โรคอุจจาระร่วงที่รุนแรง อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ และสมดุลเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่การช็อกและเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กและผู้สูงอายุ
เพื่อป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำดังนี้
การเฝ้าระวังและป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรตระหนักในช่วงเวลาน้ำท่วม โดยการปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข และการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่มากับน้ำท่วมได้ โดยผู้ที่อยู่ในบริเวณน้ำท่วม จะต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรงตลอดช่วงเวลานี้