Rated 4.98-stars across 2K+ reviews
Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews

เลือกดื่มกาแฟที่เหมาะกับDNA อย่างไรดี?

GeneusDNA profile image By
GeneusDNA
|
Feb 21, 2024
|
1.55 k
รู้หรือไม่
อาหาร
สุขภาพ
choose coffee that suits your DNA
Summary
choose coffee that suits your DNA

เลือกดื่มกาแฟที่เหมาะกับDNA อย่างไรดี?

สวัสดีครับทุกท่าน เนื่องจากผู้เขียนได้มีโอกาสตรวจ DNA จากน้ำลาย และได้ทราบผลการตรวจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในวันนี้จึงอยากแชร์ประสบการเรื่องใกล้ๆตัว ว่าเราจะนำผลตรวจที่ได้รับไปเลือกดื่มกาแฟที่เหมาะสมสำหรับตัวเราอย่างแท้จริงได้อย่างไร

 

 

ต้องขอเกริ่นนำก่อนว่าทางผู้เขียนเองไม่ได้มีความเชี่ยวชาญด้านกาแฟมากนัก แต่ดื่มกาแฟค่อนข้างบ่อย เนื่องจากต้องการความตื่นตัว ความสดชื่นระหว่างวันในเวลาทำงาน จึงพอมีความรู้เกี่ยวกับกาแฟคร่าวๆมาเขียนให้ผู้อ่านได้รับชมกันถึงแนวทางในชีวิตประจำวันที่ผมเลือกชนิดของกาแฟที่เหมาะสมกับร่างกายได้อย่างไร

เครื่องดื่มกาแฟนั้นเป็นเครื่องดื่มที่คนทั่วโลกนิยมดื่มกันค่อนข้างสูงมาก ส่วนประกอบของความเป็นเครื่องดื่มกาแฟ หลักๆแล้วสะกัดได้มาจากเมล็ดกาแฟนั่นเอง

ต้นกาแฟนั้นมีมากมายหลายสายพันธุ์ สายพันธุ์ที่ได้ยินกันคุ้นหูนั่นคืออาราบิก้า จัดเป็นสายพันธุ์ที่ให้รสชาติกาแฟที่ดีอีกทั้งยังเพาะปลูกยากทำให้มีราคาสูง อีกหนึ่งสายพันธุ์ที่คุ้นหูกันคือ โรบัสต้า มีรสชาติออกขมและเปรี้ยวกว่าอีกทั้งยังมีปริมาณคาเฟอีนที่สูงกว่า ทำให้คนไม่ค่อยนิยม ราคาจึงต่ำกว่า

หลังจากเลือกเมล็ดพันธุ์กาแฟที่จะใช้ได้แล้ว ก็จะนำเมล็ดนั้นมาหมักและนำไปตากแห้ง ต่อจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการคั่วเมล็ดกาแฟ ซึ่งจะนำไปคั่วที่อุณหภูมิสูงจัด(ร้อนมาก) ซึ่งจะมีเทคนิคการคั่วที่แตกต่างกันไปตามสูตรของแต่ละบุคคล มีตั้งแต่ การคั่วเพียงอ่อนๆ(กาแฟจะยังรักษารสชาติดั่งเดิมของเมล็ดพันธุ์กาแฟนั้นไว้มาก) คั่วกลาง ไปยังคั่วเข้ม(กาแฟจะเสียรสชาติดั่งเดิมไปและปริมาณคาเฟอีนจะต่ำลง) หลังจากคั่วแล้วสีของเมล็ดกาแฟก็จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาล

ขั้นตอนต่อมาคือการบด และชงเมล็ดกาแฟที่คั่วแล้ว โดยปกติก็จะใช้เครื่องอัตโนมัติในการชงกาแฟ

กาแฟมีชนิดไหนบ้าง

กาแฟดำ: คือกาแฟที่ผ่านการชงมาโดยไม่ใส่นมเพิ่มเติม แต่อาจจะมีการเติมน้ำตาลได้ ทำให้กาแฟชนิดนี้มีความเข้มค่อนข้างสูง

เอสเพรสโซ: เป็นกาแฟที่มีรสชาติเข้มข้น ชงโดยการใช้ไอน้ำหรือน้ำร้อนผ่านกาแฟคั่วที่บดระเอียด เพื่อให้ได้รสชาติที่เข้มข้น มักจะไม่มีการเติมนม หรือน้ำตาลเข้าไป เพื่อให้ได้รสชาติของกาแฟแท้จริง มักจะเสิร์ฟเป็นรูปแบบชอตเล็กๆ ดื่มได้อึกสองอึกก็หมดแก้ว

อเมริกาโน: คือเอสเพรสโซที่ถูกเจือจางด้วยน้ำร้อนเพื่อช่วยลดความขมลง โดยปกติใช้เอสเพรสโซ 1 ถึง 2 ชอต

คาปูชิโน: ประกอบไปด้วยเอสเพรสโซ 1 ส่วน และ นมร้อน 1 ส่วน รวมไปถึงนมตีเป็นโฟมละเอียดลอยอยู่ด้านบนอีก 1 ส่วน โรยด้วยผงโกโก้ หรือผงซินนามอนด้านบน

ลาเต้: ประกอบไปด้วยเอสเพรสโซ 1 ส่วน และนมร้อนอีก 2 ส่วน สำหรับคนต้องการดื่มกาแฟนม

มอคค่า: ส่วนผสมโดยรวมเหมือนลาเต้ แต่จะมีการเพิ่มชอกโกแลตหรือโกโก้เข้าไปด้วย

 

รูปภาพแสดงถึงส่วนผสมในกาแฟแต่ละชนิด

 

รูปภาพแสดงถึงส่วนผสมในกาแฟแต่ละชนิด

 

เมื่อท่านผู้อ่านพอจะทราบถึงส่วนผสมพื้นฐานของกาแฟแต่ละชนิดแล้ว ผู้เขียนจะพามารับชมตัวอย่างการเลือกกาแฟที่เหมาะสมกับ DNA ของเรากันครับ

ความไวต่อคาเฟอีน

จากผลตรวจทางพันธุกรรมจากทาง GeneusDNA เกี่ยวกับหัวข้อความไวต่อคาเฟอีน(Caffeine sensitivity) ของผมเอง พบว่าร่างกายมีแนวโน้มจะกำจัดคาเฟอีนได้รวดเร็ว(Fast metabolizer) ดังรูปข้างล่างนี้

 

 

โดยปกติแล้วยีนที่ชื่อว่า CYP1A2 ควบคุมเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายคาเฟอีนกว่า 95% ของคาเฟอีนในร่างกาย พันธุกรรมส่งผลต่ออัตราความเร็วในการย่อยสลายและกำจัดคาเฟอีนออกจากร่างกาย ซึ่งส่งผลให้ระยะเวลาที่คาเฟอีนจะคงอยู่ในร่างกายของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน สำหรับคนที่กำจัดคาเฟอีนได้ช้า คาเฟอีนจึงออกฤทธิ์ได้นานกว่า และอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหากบริโภคคาเฟอีนในปริมาณสูง ส่วนสำหรับตัวผู้เขียนเอง ร่างกายมีแนวโน้มจะกำจัดคาเฟอีนได้ไว ซึ่งองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) และหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA) แนะนำว่าสำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีควรจำกัดปริมาณคาเฟอีนที่ร่างกายได้รับจากอาหารทุกชนิดไม่ให้เกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน หรือถ้าเทียบแล้วคือกาแฟประมาณไม่เกิน 4 แก้วต่อวัน

ดังนั้นตัวผู้เขียนเองจึงเหมาะกับการดื่มกาแฟที่มีความเข้มข้นของคาเฟอีนสูงได้ สามารถดื่มกาแฟได้ทุกชนิดแล้วแต่ความชอบส่วนบุคคล

ความไวต่อแลคโทสในนมวัว

ในกาแฟบางชนิดก็มีนมเป็นส่วนผสมหลัก ดังนั้นผู้เขียนจึงไปดูในหัวข้อ ความไวต่อแลคโทสในนมวัว(Lactose intolerance)

 

 

ซึ่งผลที่ได้ออกมาเป็นดังรูปคือมีแนวโน้มจะมีภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสบกพร่อง เนื่องจากร่างกายผลิตเอนไซม์แลคเตสได้น้อยและอาจไม่เพียงพอที่จะย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมได้หมด ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น ท้องอืด ปวดท้อง และท้องเสีย หลังจากดื่มนมหรือรับประทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ดังนั้นตัวผู้เขียนเองอาจจะไม่เหมาะกับการดื่มกาแฟที่ใส่นมเพิ่มเติมเข้ามา เช่น ลาเต้ มอคค่า คาปูชิโน

ทางผู้เขียนจึงเลือกรับประทานเป็น อเมริกาโน เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากส่วนตัวไม่ชอบรสขมจัด และพยายามหลีกเลี่ยงน้ำตาล(เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคอ้วน) พยายามหลีกเลี่ยงครีมเทียม(ไขมันชั้นเลว เพิ่มระดับ LDL ในเลือด เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดและหัวใจ)

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับการเลือกดื่มกาแฟตามผลตรวจ DNA ของเรา จัดเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราสามารถนำไปใช้ได้ง่ายๆ หากว่าเราทำตามนี้ ก็จะส่งผลที่ดีต่อสุขภาพเราแน่นอนครับ

 

reference : 

Swallow DM. (2003). Genetics of lactase persistence and lactose intolerance. Annu Rev Genet. 37:197-219.

Enattah NSet al. (2002). Identification of a variant associated with adult-type hypolactasia. Nat Genet. 30(2):233-7.

Mulcare CA et al. (2004). The T allele of a single-nucleotide polymorphism 13.9 kb upstream of the lactase gene (LCT) (C513.9kbT) does not predict or cause the lactase-persistence phenotype in Africans.

Am J Hum Genet. 74(6):1102-10.Bersaglieri T et al. (2004). Genetic signatures of strong recent positive selection at the lactase gene, Am J Hum Genet. 74(6):1111-20.Storhaug CL et al. (2017). Country, regional, and global estimates for lactose malabsorption in adults: a systematic review and meta-analysis. Lancet Gastroenterol Hepatol. 2(10):738-746.

Cornelis MC et al. (2006). Coffee, CYP1A2 genotype, and risk of myocardial infarction. JAMA. 295(10):1135-41.

Palatini P et al. (2009). CYP1A2 genotype modifies the association between coffee intake and the risk of hypertension. J Hypertens. 27(8):1594-601.Coffee and caffeine Genetics Consortium et al. (2015). Genome-wide meta-analysis identifies six novel loci associated with habitual coffee consumption. Mol Psychiatry. 20(5):647-56.

Womack CJ et al. (2012). The influence of a CYP1A2 polymorphism on the ergogenic effects of caffeine. J Int Soc Sports Nutr. 9(1):7.

Guest N et al. (2018). Caffeine, CYP1A2 Genotype, and Endurance Performance in Athletes. Med Sci Sports Exerc. 50(8):1570-1578

chat line chat facebook