Rated 4.98-stars across 2K+ reviews
Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews

ตรวจยีนค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็ง รู้ล่วงหน้า รักษาและป้องกันได้

GeneusDNA profile image By
GeneusDNA
|
Aug 25, 2021
|
509
รู้หรือไม่
cancer genes
Summary
cancer genes

มะเร็ง เป็นโรคที่พันธุกรรมมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในปัจจุบัน กว่า 1 ใน 8 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมดเกิดจากการถ่ายทอดการกลายพันธุ์ของยีน

`

 

มะเร็ง เป็นโรคที่พันธุกรรมมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในปัจจุบัน กว่า 1 ใน 8 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมดเกิดจากการถ่ายทอดการกลายพันธุ์ของยีน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งแต่ละชนิด การตรวจยีนเพื่อค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็งช่วยให้ทราบความเสี่ยงที่เกิดจากพันธุกรรมมะเร็ง เพื่อการวางแผนป้องกันได้ทันเวลา และลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด ดังเช่น นักแสดงฮอลลีวูด “แองเจลิน่า โจลี่” ที่ได้ตัดสินใจร่วมกับแพทย์ในการผ่าตัดเต้านมและรังไข่ทั้งสองข้างออก หลังจากตรวจพบว่าตัวเธอเองได้รับพันธุกรรมมะเร็งเต้านมและรังไข่จากการตรวจยีนมะเร็ง

1 ใน 8 ของผู้ป่วยโรคมะเร็ง เกิดจากการถ่ายทอดการกลายพันธุ์ของยีน

“ยีน” ส่งผลต่อร่างกายได้อย่างไร?

ยีน (gene) คือ หน่วยพันธุกรรมที่ทำหน้าที่เป็นพิมพ์เขียวกำหนดการทำงานของร่างกาย และควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยยีนจะทำงานรวมกันเป็นคู่ และคนเราจะต้องได้รับยีนจากพ่อและแม่มาอย่างละหนึ่งชุด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เรามีลักษณะบางอย่างคล้ายพ่อ และบางอย่างคล้ายแม่มากกว่า เช่น มีตาสีน้ำตาลเหมือนแม่ หรือมีผมหยักศกเหมือนพ่อ แต่ด้วยการทำงานที่ซับซ้อนของยีน อาจทำให้มีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างจากพ่อและแม่อย่างสิ้นเชิงก็เป็นได้

นอกจากนี้ ยีนยังมีผลต่อการเกิดโรคต่าง ๆ รวมถึงโรคมะเร็งด้วยเช่นกัน นักวิทยาศาสตร์พบว่า ในร่างกายของคนเรามียีนมากกว่า 20,000 ยีน ที่ทำให้แต่ละคนมีลักษณะที่แสดงออกมาแตกต่างกันไป

ยีนสามารถควบคุมการทำงาน รวมถึงลักษณะของร่างกายได้ เนื่องจากยีนทำหน้าที่ควบคุมการสร้างโปรตีนที่มีหน้าที่แตกต่างกันไปในร่างกาย ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง เช่น ยีน LCT ที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์แล็กเทส (lactase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีหน้าที่ย่อยน้ำตาลแล็กโทส (lactose) ในนม หากยีน LCT มีการเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถสร้างเอนไซม์ชนิดนี้ได้ เมื่อดื่มนมจึงมีอาการปวดท้องหรือท้องเสียนั่นเอง

ยีนยังควบคุมการสร้างโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย เช่น โปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของผิวพรรณ รวมถึงยังมีผลต่อการทำงานของสมอง โดยควบคุมการสร้างของสารเคมี หรือสารสื่อประสาทในสมองเช่น โดปามีน อีกด้วย

ยีนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งอย่างไร

กลไกการเกิดมะเร็งเริ่มจากการที่ “ยีนมีการกลายพันธุ์ (gene mutation)” หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบปกติ ส่งผลให้เกิดการสร้างโปรตีนที่ผิดปกติ หรือโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งโปรตีนที่ผิดปกติจะทำให้เกิดการสื่อสารที่ผิดพลาด ทำให้เซลล์มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ และกลายเป็นมะเร็งในที่สุด

ยีนที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้

  1. ยีนก่อมะเร็ง (Proto-oncogene)
    เป็นยีนที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการแบ่งเซลล์ เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ หากเกิดการกลายพันธุ์จะทำให้เซลล์นั้นมีการเจริญเติบโตและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยไม่สามารถควบคุมได้ และอาจก่อให้เกิดมะเร็งในที่สุด

  2. ยีนต้านมะเร็ง (Tumor suppressor gene)
    ยีนกลุ่มนี้ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ร่างกาย ป้องกันการเจริญเติบโตที่มากหรือรวดเร็วเกินไป และควบคุมกระบวนการทำลายตัวเองของเซลล์ (apoptosis) เมื่อเซลล์หมดอายุ หรือเซลล์ที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นกับ DNA ที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้แล้ว

    หากเกิดการกลายพันธุ์ของยีนในกลุ่มนี้ อาจส่งผลให้เกิดปัญหาในการควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ เซลล์ที่หมดอายุจะไม่ถูกเหนี่ยวนำเข้าสู่กระบวนการทำลายตัวเอง และเซลล์ที่มีความผิดปกติจะมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างควบคุมไม่ได้

    ตัวอย่างของยีนต้านมะเร็ง เช่น ยีน BRCA1 และ BRCA2 หากเกิดการกลายพันธุ์ของยีนเหล่านี้ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ เป็นต้น

  3. ยีนที่ทำหน้าที่ซ่อมแซม DNA (DNA mismatch repair gene)
    ในกระบวนการแบ่งเซลล์ ต้องมีการจำลองตัวเองของ DNA (DNA replication) เพื่อเพิ่มจำนวน DNA จาก 1 โมเลกุล เป็น 2 โมเลกุล ซึ่งกระบวนการนี้มีความซับซ้อน และจะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจนำไปสู่การกลายพันธุ์ได้ ซึ่งในภาวะปกติ หากเกิดความผิดพลาดในกระบวนการดังกล่าว โปรตีนที่สร้างจากยีนในกลุ่มนี้จะทำหน้าที่ซ่อมแซม DNA ที่เสียหาย จึงไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติ

    หากเกิดการกลายพันธุ์ของยีนที่ซ่อมแซม DNA อาจส่งผลให้ DNA ที่เสียหายไม่ได้รับการซ่อมแซม และหากความเสียหายของ DNA นั้นอยู่บนยีนก่อมะเร็ง หรือยีนต้านมะเร็ง จะส่งผลให้เซลล์นั้นมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ในที่สุด

    ตัวอย่างของยีนที่ทำหน้าที่ซ่อมแซม DNA เช่น ยีน MLH1 ที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

การกลายพันธุ์ของยีนที่ก่อมะเร็ง

การกลายพันธุ์ของยีนที่สามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ มี 2 ประเภท

  1. พันธุกรรมมะเร็ง (Germline mutation)
    พันธุกรรมมะเร็ง คือ การกลายพันธุ์ของยีนที่ถูกถ่ายทอดโดยตรงจากบรรพบุรุษรุ่นพ่อแม่ ไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน ซึ่งพันธุกรรมมะเร็งสามารถตรวจพบการกลายพันธุ์นี้ได้ตั้งแต่แรกเกิด โดยผู้ที่มีพันธุกรรมมะเร็งจะสามารถตรวจพบการกลายพันธุ์ได้ในทุกเซลล์ในร่างกาย และจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต พันธุกรรมมะเร็งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งประมาณ 5-10% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมด

    อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่มีพันธุกรรมมะเร็งจะเป็นมะเร็งชนิดนั้น ๆ อย่างแน่นอน แต่หมายความถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งที่สูงกว่าคนทั่วไป เนื่องจากการเกิดโรคมะเร็งโดยส่วนใหญ่ต้องอาศัยหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น ไลฟ์สไตล์ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

  2. การกลายพันธุ์ที่เกิดกับเซลล์ร่างกาย (Somatic mutation)
    การกลายพันธุ์ประเภทนี้เป็นการกลายพันธุ์ของเซลล์ปกติในร่างกาย มีสาเหตุมาจากการได้รับปัจจัยกระตุ้น หรือสารก่อมะเร็งต่าง ๆ ในช่วงชีวิตของแต่ละคน และไม่สามารถถ่ายทอดจากรุ่นพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกหลานได้ ปัจจัยที่ทำให้เกิดกลายพันธุ์นี้ เช่น การสูบบุหรี่ การได้รับมลพิษสะสม รังสี UV ในแสงแดด การรับประทานอาหาร ความแก่ชรา และการติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เชื้อ HPV ที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น

    เซลล์ที่มีการกลายพันธุ์ไปจากปกติ จะมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว โดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ จนกลายเป็นก้อนเนื้องอกและมะเร็งในที่สุด การกลายพันธุ์ในลักษณะนี้จึงไม่พบในเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย แต่มักเกิดเฉพาะที่

ตรวจยีนมะเร็งพันธุกรรม รู้ก่อน ป้องกันได้

การตรวจคัดกรองมะเร็งจากพันธุกรรม (Genetic cancer screening) เป็นการตรวจเพื่อค้นหาการกลายพันธุ์ของยีนที่สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์จากพ่อแม่ไปสู่ลูก (germline mutation) ซึ่งเป็นการตรวจสุขภาพเชิงป้องกัน ช่วยลดและจัดการกับความเสี่ยงได้อย่างทันท่วงที

 

 

การตรวจหาพันธุกรรมมะเร็ง สามารถช่วยให้

  • ทราบว่ามีการกลายพันธุ์ของยีนที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งแต่ละชนิดหรือไม่
  • วางแผนการดูแลสุขภาพของคุณได้อย่างตรงจุดที่มีความเสี่ยง เช่น หลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็งที่เป็นปัจจัยกระตุ้น
  • ช่วยให้สามารถเฝ้าระวังการเกิดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การดูแลของแพทย์
  • ด้วยคำแนะนำจากทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเรา จะช่วยให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต หรือไลฟ์สไตล์ เพื่อลดความเสี่ยงจากปัจจัยอื่น ๆ
  • ช่วยวางแผนสุขภาพของคนในครอบครัว เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งที่มีการถ่ายทอดในครอบครัว

การตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีนที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ช่วยให้แพทย์สามารถให้คำแนะนำในการตรวจคัดกรองเพิ่มเติม หรือเข้ารับการตรวจเร็วขึ้น เพื่อให้สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เนื่องจากผู้ที่มีพันธุกรรมมะเร็งมีแนวโน้มที่จะเกิดมะเร็งเมื่ออายุน้อย หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น และสามารถตรวจพบได้ในระยะเริ่มแรก จะทำให้การรักษาจะ มีประสิทธิภาพสูง และเพิ่มโอกาสการรักษาให้หายขาดได้สูง

การตรวจยีนมีขั้นตอนอย่างไร

ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น ผู้ที่มีพันธุกรรมมะเร็งสามารถตรวจพบการกลายพันธุ์ได้ในเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย และสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่แรกเกิด ดังนั้นการตรวจยีนจากเซลล์เม็ดเลือดขาวในน้ำลาย จึงเป็นวิธีที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูง และสะดวกที่สุด

การเก็บตัวอย่างสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยใช้ปลายก้านฟองน้ำถูเบา ๆ 15 ครั้ง เพื่อเก็บน้ำลายบริเวณร่องระหว่างเหงือกและกระพุ้งแก้ม จากนั้นตัวอย่างจะถูกส่งไปวิเคราะห์ผลที่ห้องปฏิบัติการของเราที่ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยเทคโนโลยีล่าสุด และความแม่นยำสูงที่สุด ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน CAP และ CLIA

ด้วยเทคโนโลยี Whole genome-wide microarray genotyping ที่คัดเลือกตำแหน่งที่สำคัญจากทุกยีนบน Whole Genome Sequencing กว่า 1 ล้านตำแหน่ง ทำให้ไม่เพียงแต่จะทราบความเสี่ยงมะเร็งจากปัจจัยทางพันธุกรรม รายงานผลของ Geneus ยังครอบคลุมถึงความต้องการวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย การรับประทานอาหาร ความไวต่ออาหารแต่ละประเภท การออกกำลังกายและการลดน้ำหนักที่ตรงกับ DNA รวมถึงความเสี่ยงสุภาพเช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคเบาหวาน โรคข้อเสื่อม และอื่น ๆ รวมกว่า 400 รายการ

 

 

ใครบ้างที่ควรตรวจยีน

การตรวจยีนสามารถตรวจได้ทุกเพศและทุกวัย สามารถตรวจได้ตั้งแต่แรกเกิด เนื่องจากยีนที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต ไม่ว่าจะตรวจเมื่ออายุเท่าใด ผลที่ได้รับจะคงที่ การตรวจยีนจึงเปรียบเสมือนการลงทุนด้านสุขภาพ ที่ตรวจเพียงครั้งเดียว สามารถนำผลที่ได้และคำแนะนำโดยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญไปปรับใช้ในการดูแลสุขภาพได้ตลอดชีวิต และยังสามารถลดความเสี่ยงหรือป้องกันโรคร้ายได้อย่างตรงจุด

การตรวจทางพันธุกรรมมะเร็งเพื่อค้นหาความเสี่ยงมีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคมะเร็ง ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง รวมถึงผู้ที่มีประวัติได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็ง

ชุดตรวจยีน เพื่อค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็ง

ชุดตรวจ Geneus Premium DNA Test ตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีนที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม พร้อมด้วยเรื่องสุขภาพอีกกว่า 400+ รายการ แบ่งเป็นหมวดหมู่ ดังนี้

  • ความต้องการวิตามินและแร่ธาตุ
  • ความไวต่ออาหาร และการรับประทานอาหารตาม DNA
  • การออกกำลังกายที่เหมาะกับร่างกาย
  • การลดน้ำหนักที่เหมาะกับ DNA ของคุณ
  • ความเสี่ยงโรคต่าง ๆ
  • ผิวพรรณ
  • การตอบสนองต่อยาแต่ละชนิด
  • ความเสี่ยงอาการรุนแรงจาก COVID-19
  • พันธุกรรมมะเร็ง
  • ความไวต่อมลพิษ
  • พาหะโรคทางพันธุกรรม
  • คุณภาพการนอนหลับ
  • การจัดการความเครียด
  • DNA ที่ส่งผลต่อนาฬิกาชีวิต
  • พรสวรรค์และศักยภาพจาก DNA

และอื่น ๆ อีกมากมาย

รายงานผลตรวจ เข้าใจง่าย พร้อมคำแนะนำเฉพาะบุคคลตาม DNA โดยทีมแพทย์และวิทยาศาสตร์ รวมถึงการปรึกษาผลตรวจโดยแพทย์ และการอัพเดทเพิ่มหัวข้อใหม่ ๆ อย่างไม่จำกัดบน Application Geneus DNA ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน


ติดต่อสอบถาม

LINE ID: @Geneus

Facebook page: GeneusDNA ดูแลสุขภาพระดับ DNA

Website: www.GeneusDNA.com

โทรศัพท์ 064-795-5959

02-010-0489

 

chat line chat facebook