รู้หรือไม่? ทำไมบางคนถึงมีอาการท้องเสีย ท้องอืด หลังดื่มนมเข้าไป เจาะลึกความลับทางสุขภาพ แลคโตส-แลคเตส คืออะไร ทำไมคนที่แพ้แลคโตสต้องเลี่ยงการดื่มนม
คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมบางคนถึงดื่มนมแล้วท้องเสีย ในขณะที่คนอื่นดื่มแล้วไม่มีปัญหาอะไรเลย? อาการแพ้แลคโตสในนมเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถย่อยแลคโตสได้ดี ส่งผลให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องอืด และไม่สบายท้องหลังจากดื่มนม ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจ เกี่ยวกับสาเหตุและอาการแพ้แลคโตสในนม รวมถึงวิธีการจัดการกับอาการนี้ เพื่อให้คุณสามารถดื่มนม และบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมได้อย่างสบายใจมากขึ้น
การแพ้แลคโตส (Lactose intolerant) คือ อาการที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายของเราไม่สามารถย่อย หรือดูดซึมแลคโตสได้ ซึ่งแลคโตสคือสารน้ำตาลที่พบได้ในนม และผลิตภัณฑ์จากนม โดยการแพ้แลคโตสเกิดขึ้นกับบางคนที่ลำไส้เล็กไม่ผลิตเอ็นไซม์ย่อยอาหารที่เรียกว่า “แลคเตส” (Lactase) ขึ้นมาอย่างเพียงพอ
เนื่องจากตามปกติแลคเตสจะย่อยแลคโตสในอาหาร เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้ เป็นเหตุให้ผู้ที่แพ้แลคโตสมักมีอาการไม่สบายหลังจากรับประทาน หรือดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนม เพราะไม่มีแลคเตสในการย่อยแลคโตสแบบคนอื่น
แพ้นมเพราะร่างกายดูดซึมแลคโตสไม่ได้ ทำไมท้องเสีย-ท้องอืด?
อาการแพ้แลคโตสในนม เกิดขึ้นเมื่อร่างกายขาดเอนไซม์แลคเตสที่มีหน้าที่ในการย่อยสลายแลคโตส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบได้ในนมและผลิตภัณฑ์จากนม และเมื่อแลคโตสไม่ได้ถูกย่อยสลายที่ลำไส้เล็ก มันจะถูกส่งไปยังลำไส้ใหญ่ ทำให้แบคทีเรียทำการหมักแลคโตสในลำไส้ใหญ่ เป็นสาเหตุให้เกิดแก๊สและกรดไขมัน ซึ่งนำไปสู่อาการท้องอืด ท้องเสีย และปวดท้องในกลุ่มผู้ที่แพ้แลคโตสในนมนั่นเอง
การแพ้แลคโตส (Lactose intolerance) เกิดจากร่างกายไม่สามารถย่อยสลายแลคโตส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบในนมและผลิตภัณฑ์นมได้อย่างเหมาะสม โดยปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการแพ้แลคโตสคือการทำงานของยีนที่ชื่อว่า LCT ซึ่งยีนนี้ควบคุมการผลิตเอนไซม์แลคเตส (Lactase) ที่จำเป็นในการย่อยแลคโตส โดยการแพ้แลคโตสสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ตามสาเหตุของการทำงานที่ผิดปกติของยีน LCT ได้แก่
ภาวะการแพ้แลคโตส (Lactose intolerance) มักพบได้บ่อยในกลุ่มคนที่มีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เนื่องจากการผลิตเอนไซม์แลคเตส (Lactase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ช่วยย่อยแลคโตสในลำไส้เล็ก มักลดลงตามอายุ ต่างจากเด็กเล็กและวัยรุ่นที่มีโอกาสแพ้แลคโตสได้น้อยกว่า เพราะเอนไซม์แลคเตสยังคงมีปริมาณเพียงพอในการย่อยแลคโตส
โดยทั่วไปแล้ว อาการแพ้แลคโตสมักเริ่มแสดงในช่วงวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (ประมาณอายุ 20-40 ปี) แต่ก็สามารถพบได้ในวัยเด็กหรือตั้งแต่วัยทารก ในกรณีที่มีภาวะการแพ้แลคโตสแต่กำเนิด (Congenital lactase deficiency) ซึ่งถือเป็นภาวะที่หายาก
โดยเด็กที่มีภาวะนี้จะเกิดอาการแพ้แลคโตสตั้งแต่แรกเกิด เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตเอนไซม์แลคเตสที่จำเป็นต่อการย่อยแลคโตสได้เลย นั่นหมายความว่าเด็กกลุ่มนี้จะไม่สามารถย่อยแลคโตสที่มีอยู่ในนมแม่ หรือนมสูตรทั่วไปได้ เพราะหากดื่มนมแม่จะทำให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องอืด และมีปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง
ทั้งนี้ทางเลือกในการให้นมสำหรับเด็กที่แพ้แลคโตสในนมตั้งแต่เกิด คือการใช้นมสูตรพิเศษที่ไม่มีแลคโตส (นมที่ผ่านการกำจัดแลคโตสออกแล้ว) เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่จำเป็น โดยไม่เกิดอาการแพ้แลคโตสในนมนั่นเอง
อาการแพ้แลคโตสในนมของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน โดยอาการมักเริ่มประมาณ 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง หลังจากที่มีการรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีแลคโตสเข้าสู่ร่างกาย เช่น
สำหรับความรุนแรงของอาการ ขึ้นอยู่กับปริมาณแลคโตสที่เรารับประทาน และปริมาณแลคเตส ที่ร่างกายผลิตออกมาเพื่อใช้ย่อยแลคโตส ทั้งนี้อาการของการแพ้แลคโตสอาจคล้ายกับ อาการของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจ
ตรวจดีเอ็นเอ (DNA) หาความเสี่ยงการแพ้แลคโตสในนมได้
ปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีวิเคราะห์รหัสพันธุกรรม เพื่อหาแนวโน้มความเสี่ยงโรค ตลอดจนวิตามิน โภชนาการ แนวทางการออกกำลังกาย และการพักผ่อนที่ร่างกายควรได้รับ ทั้งยังเจาะลึกถึงความลับทางสุขภาพอื่นๆ เช่น ความไวต่อคาเฟอีน ความสามารถในการกำจัดแอลกอฮอล์ พฤติกรรมการชอบทานหวาน และอาการอิ่มช้า ไม่เว้นแม้แต่โรคภูมิแพ้ ซึ่งครอบคลุมถึงอาการแพ้แลคโตสในนมด้วย
โดยผู้ที่สนใจตรวจดีเอ็นเอ เพื่อหาความเสี่ยงอาการแพ้แลคโตสในนม หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ สามารถเลือกใช้บริการของ Geneus DNA ได้ เนื่องจากบริการของจีเนียสจะครอบคลุมถึงการตรวจยีน MCM6 ที่ทำให้ทราบได้ว่า เรามีโอกาสแพ้แลคโตสในนมหรือไม่ นอกจากนี้นวัตกรรมของทางจีเนียส จะทำการถอดรหัสพันธุกรรมกว่า 20,000 ยีน ด้วยเทคโนโลยี Whole Genome-wide Array (วิเคราะห์จำนวน SNPs กว่า 10 ล้านตำแหน่ง) ทำให้เรารู้ผลทางสุขภาพเชิงลึกได้อย่างแม่นยำ ผ่านการวิเคราะห์ในห้องแล็บมาตรฐานระดับโลก ประเทศสหรัฐอเมริกา และการตรวจเพียงครั้งเดียว สามารถติดตามผลสุขภาพได้กว่า 500+รายการ ตลอดชีวิต
แม้จะไม่มีการรักษาที่สามารถช่วยให้ร่างกายผลิตแลคเตสมากขึ้นได้ แต่เราสามารถจัดการอาการแพ้นมได้ โดยการเปลี่ยนแปลงอาหาร และปรับพฤติกรรมการบริโภค
โดยในอดีตผู้ที่แพ้แลคโตสมักถูกแนะนำให้หลีกเลี่ยงการดื่ม หรือทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม แต่ในปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ได้หันมาแนะนำให้ผู้ที่อาจแพ้นมหรือแพ้แลคโตส ลองรับประทานอาหารที่มีนมด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมและสารอาหารสำคัญอื่นๆ ดังนี้
การแพ้แลคโตสอาจส่งผลให้ต้องระมัดระวังทุกครั้งเมื่อทานขนมหรืออาหารต่างๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่แพ้นมบางคน ก็ยังสามารถทนต่อปริมาณแลคโตสจำนวนเล็กน้อยได้ ซึ่งทำให้ไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงมันทั้งหมด
ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่คนแพ้นมหรือแพ้แลคโตสต้องทำ ก็คือการอ่านฉลากอาหาร โดยบรรจุภัณฑ์ของอาหารมักมีปริมาณแลคโตสและส่วนประกอบต่างๆ เขียนระบุเอาไว้ข้างกล่อง กระป๋อง หรือแม้แต่อาหารแช่แข็ง และอาหารสำเร็จรูปบางชนิดเช่นกัน ซึ่งผู้ที่แพ้นมหรือแลคโตส ต้องตรวจสอบคำที่อาจหมายถึงอาหารที่มีแลคโตส เช่น เนย (Butter) ชีส (Cheese) ครีม (Cream) นมผง (Powdered milk) เวย์ (Whey) เป็นต้น