Rated 4.98-stars across 2K+ reviews
Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews

ระวัง แพ้ยารักษาโรคเกาต์ SJS อาจเสียชีวิตได้

GeneusDNA profile image By
GeneusDNA
|
Sep 23, 2024
|
1.11 k
สุขภาพ
sjs คือ, ยารักษาโรคเกาต์, ยาเกาต์
Summary
sjs คือ, ยารักษาโรคเกาต์, ยาเกาต์

ทำความเข้าใจ SJS (Stevens-Johnson Syndrome) คืออะไร? ทำไมบางคนแพ้ยารักษาโรคเกาต์ จนอาจถึงขั้นเสียชีวิต รู้ความเสี่ยงก่อน สามารถป้องกันได้

โรคเกาต์ (Gout) เป็นโรคที่เกิดจากการสะสมของกรดยูริกในร่างกาย ส่งผลให้เกิดการอักเสบที่ข้ออย่างรุนแรง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดบวมและแดงที่ข้อ โดยการรักษาโรคเกาต์มักใช้ยาเพื่อลดอาการปวด และควบคุมระดับกรดยูริก แต่การใช้ยาเหล่านี้อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น SJS (Stevens-Johnson Syndrome) ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่อาจทำให้เสียชีวิตได้

คนเป็นเกาต์ต้องรู้จัก  SJS ภาวะที่ร่างกายแพ้ยา จนอาจเสียชีวิตได้

ยารักษาโรคเกาต์ ใช้แล้วเสี่ยงเป็น SJS

โรคเกาต์เกิดจากการสะสมของกรดยูริกในร่างกาย ซึ่งเป็นสารที่ได้มาจากการย่อยสลายของ อาหารบางชนิด และหากมีมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการปวดที่ข้อ อันเป็นอาการของโรคเกาต์ได้ โดยการรักษาโรคเกาต์มักใช้ยา เพื่อลดการอักเสบ และควบคุมระดับกรดยูริก ซึ่งยาที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • NSAIDs (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs): เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และนาโปรเซน (Naproxen) มีสรรพคุณช่วยลดการอักเสบ และบรรเทาอาการปวด
  • Colchicine: ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวด และลดการอักเสบในระยะเฉียบพลัน
  • Allopurinol: ช่วยลดระดับกรดยูริกในร่างกาย เพื่อป้องกันการเกิดอาการปวดในอนาคต

แต่แม้ว่ายาเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคเกาต์ ทว่าการใช้ยาในกลุ่มเหล่านี้ อาจมีความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้ที่ร้ายแรง โดยเฉพาะ SJS ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกาย มีปฏิกิริยาต่อยาอย่างรุนแรงได้

SJS (Stevens-Johnson Syndrome) คืออะไร?

SJS (Stevens-Johnson Syndrome) คืออะไร?

SJS (Stevens-Johnson Syndrome) คือ ภาวะที่ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อยา หรือสารเคมีที่ทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง จนทำลายผิวหนัง และเยื่อบุภายในร่างกาย  จนถึงขั้นอวัยวะล้มเหลวและเสียชีวิตได้ ซึ่งภาวะนี้มักเริ่มต้นด้วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น ไข้สูง ปวดศีรษะ และอ่อนเพลีย รวมถึงมีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง และพัฒนาเป็นแผลพุพองหรือผิวหนังลอกในภายหลัง

อาการของ SJS:

  • อาการเริ่มต้น: ไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คล้ายอาการของไข้หวัดใหญ่
  • อาการผิวหนัง: ผื่นแดง แผลพุพอง ผิวหนังลอกออก
  • อาการเยื่อบุ: มีแผลในปาก ตาแดงหรืออักเสบ
  • อาการรุนแรง: การติดเชื้อแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) และการทำงานของอวัยวะล้มเหลว

SJS เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องการการรักษาทันที หากไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและเหมาะสม อาจส่งผลถึงชีวิตได้ โดยภาวะ SJS (Stevens-Johnson Syndrome) มักเกิดจากการใช้ยา ดังต่อไปนี้ 

  • ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs): เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และนาโปรเซน (Naproxen)
  • ยาปฏิชีวนะ: เช่น เพนซิลลิน (Penicillin) และซัลฟา (Sulfa drugs)
  • ยาต้านไวรัส: เช่น อลาวิรา (Acyclovir) และซิฟรอซิล (Ciprofloxacin)
  • ยาต้านชัก: เช่น ฟีไนโตอิน (Phenytoin) และคาร์บามาซีพีน (Carbamazepine)

จึงสามารถสรุปได้ว่า SJS ไม่เกิดขึ้นเฉพาะจากการใช้ยารักษาโรคเกาต์เท่านั้น แต่สามารถเกิดจากการใช้ยาหลายประเภท ซึ่งยาที่มักใช้รักษาโรคเกาต์เอง ก็จัดเป็นยาในกลุ่มเสี่ยงที่อาจทำให้เป็น SJS ด้วย

ความเสี่ยงจากการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเกาต์

การใช้ยาในการรักษาโรคเกาต์อาจมีความเสี่ยงในการเกิด SJS ซึ่งอาจเกิดจาก:

  1. การใช้ยาไม่ถูกต้อง: การใช้ยาเกินขนาด หรือไม่ใช้ตามคำแนะนำของแพทย์
  2. ประวัติแพ้ยา: ผู้ที่มีประวัติแพ้ยาอาจมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด SJS
  3. การใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน: การใช้ยาหลายชนิดร่วมกันอาจเพิ่มความเสี่ยง ในการเกิดปฏิกิริยาที่เป็นอันตราย
  4. รูปแบบของยีน HLA-B ในพันธุกรรม: ยีน HLA-B ที่มีผลต่อการเกิด SJS (Stevens-Johnson Syndrome) สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

ความเสี่ยงในการแพ้ยาโรคเกาต์ เกิดเป็น SJS

การป้องกันตัวเองจากภาวะ SJS

  1. รับคำปรึกษาจากแพทย์: การใช้ยาเพื่อรักษาโรคเกาต์ควรได้รับการแนะนำจากแพทย์ และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
  2. สังเกตอาการ: ควรเฝ้าระวังอาการผิดปกติ เช่น ผื่นแดงหรืออาการแพ้ และหยุดใช้ยา ตลอดจนเข้าพบแพทย์ทันทีหากเกิดอาการที่น่าสงสัยว่าเข้าข่าย SJS
  3. การตรวจสอบยีน: การตรวจยีน HLA-B จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด SJS และช่วยให้การรักษามีความปลอดภัยยิ่งขึ้น เพราะรูปแบบของยีน HLA-B ในร่างกายบางคน อาจทำให้เสี่ยงเป็น SJS มากกว่าคนทั่วไป

ยีน HLA-B คืออะไร เกี่ยวข้องกับภาวะ SJS อย่างไรบ้าง?

ยีน HLA-B  คือ ยีนที่มีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะในการระบุ และจัดการกับสารแปลกปลอม เช่น เชื้อโรคและยา โดยทุกคนมียีน HLA-B  อยู่ในร่างกายอยู่แล้ว เนื่องจากยีนนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ HLA (Human Leukocyte Antigen) 

แต่รูปแบบของยีนนี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งการมีรูปแบบเฉพาะของยีน HLA-B เช่น HLA-B*1502 อาจทำให้ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อยาอย่างรุนแรง และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด SJS ให้กับบางคนได้ อีกทั้งยีน HLA-B ยังเป็นยีนในระบบภูมิคุ้มกัน ที่สามารถส่งต่อกันผ่านพันธุกรรมได้ ทำให้เราสามารถตรวจยีนเพื่อลดโอกาสในการเป็น SJS ได้นั่นเอง

การตรวจยีน HLA-B ลดความเสี่ยง SJS  ด้วยบริการจาก Geneus DNA

เพื่อช่วยในการลดความเสี่ยงของการเกิด SJS ผู้ป่วยโรคเกาต์ที่ต้องใช้ยาประเภทต่างๆ ในการรักษา และกังวลว่าตนจะมีความเสี่ยงเป็น SJS สามารถตรวจยีน HLA-B ผ่านบริการจาก Geneus DNA ซึ่งเป็นบริการที่มีการตรวจดีเอ็นเอ (DNA) เพื่อระบุรูปแบบของยีน HLA-B ในพันธุกรรมของแต่ละคนได้

โดยทางจีเนียสมีนวัตกรรม Whole Genome-wide Array (วิเคราะห์จำนวน SNPs กว่า 10 ล้านตำแหน่ง) ทำให้สามารถถอดรหัสพันธุกรรมได้มากกว่า 20,000 ยีน ส่งผลให้ผู้ที่ใช้บริการของ Geneus DNA สามารถรู้ผลทางสุขภาพ และลักษณะทางพันธุกรรมได้มากกว่า 500+ รายการ ครอบคลุมความเสี่ยงโรค แนวโน้มการแพ้ยา โภชนาการ วิตามิน การออกกำลังกาย และการพักผ่อนที่เหมาะกับตัวเอง ซึ่งผลการวิเคราะห์จัดทำขึ้นในห้องแล็บประเทศสหรัฐอเมริกา มาตรฐานระดับโลก ทำให้มีความแม่นยำสูงมาก ช่วยให้ท่านรู้ทันสุขภาพของตัวเอง และดูแลตัวเองได้อย่างปลอดภัยที่สุด

ดังนันจึงสรุปได้ว่า การรักษาโรคเกาต์เป็นสิ่งสำคัญ แต่การใช้ยาที่ไม่ระมัดระวัง อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น SJS ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่อาจส่งผลถึงชีวิตได้เช่นกัน ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดในการระมัดระวังว่าเรามีโอกาสเสี่ยงเป็น SJS หรือไม่ ก็คือการตรวจดีเอ็นเอให้แน่ใจว่า เรามีรูปแบบของยีน HLA-B ที่เสียงต่อการเกิด SJS ไหมนั่นเอง

บริการ Geneus DNA

สั่งซื้อ Geneus DNA

 

chat line chat facebook