Rated 4.98-stars across 2K+ reviews
Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews Rated 4.98-stars across 2K+ reviews

คุณเป็น “โรคติดหวาน” รึเปล่า? ตรวจ DNA บอกได้

GeneusDNA profile image By
GeneusDNA
|
Sep 24, 2024
|
886
รู้หรือไม่
อาหาร
ติดหวาน
Summary
ติดหวาน

ปริมาณน้ำตาลที่มากเกินไปในอาหารและเครื่องดื่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน และโรคหัวใจ แต่รู้หรือไม่?

ในปัจจุบัน การรับประทานน้ำตาลมากเกินไปกลายเป็นปัญหาทางสุขภาพที่ลุกลามเป็นวงกว้างมากขึ้น สังเกตได้จาก อาหารสำเร็จรูปและเครื่องดื่มหลายชนิดที่มีการเติมน้ำตาลลงไปในปริมาณมาก เช่น ชานมไข่มุกที่กำลังได้รับความนิยม ซึ่งปริมาณน้ำตาลที่มากเกินไปในอาหารและเครื่องดื่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน และโรคหัวใจ แต่รู้หรือไม่ว่า พันธุกรรมหรือ DNA ของคนเราส่งผลต่อการเป็นโรคติดหวานนี้ด้วยเช่นกัน 

 

โรคติดหวาน หรือคำว่า sweet tooth ในภาษาอังกฤษนั้น หมายถึง พฤติกรรมของคนที่ชอบรับประทานของหวานเป็นอย่างมาก มักจะมีความอยากหรือโหยหาของหวานแทบจะตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมักจะได้รับ “น้ำตาล” ในปริมาณมากจากอาหารหวานที่รับประทาน

 

ทำไมน้ำตาลจึงทำให้เรารู้สึกเสพติดได้? 

น้ำตาลทำให้เกิดภาวะเสพติดได้ เนื่องจากน้ำตาลมีผลต่อสมองในส่วน “ให้รางวัล” (reward center) เช่นเดียวกับโคเคนและแอลกอฮอล์ เราจึงรู้สึกพึงพอใจและมีความสุข เมื่อได้รับประทานของหวาน ด้วยเหตุนี้เอง บางคนจึงยังคงรับประทานของหวานในปริมาณมาก แม้จะทราบดีว่าพฤติกรรมนี้มีผลเสียต่อสุขภาพก็ตาม 

นอกจากนี้การไม่ได้รับประทานของหวานหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลยังอาจทำให้คนกลุ่มนี้เกิดอาการหงุดหงิด อยู่ไม่สุข คล้ายๆ กับอาการติดสารเสพย์ติดเลยทีเดียว 

 

“ยีนติดหวาน” คืออะไร? 

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า พันธุกรรมหรือ DNA ของคนเราเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เป็นโรคติดหวานได้ ซึ่งยีนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม “ติดหวาน” หรือความอยากรับประทานของหวานของแต่ละคน มีชื่อว่า ยีน SLC2A2 

ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า คนที่มีการแปรผันของยีน SLC2A2 รับประทานน้ำตาลในปริมาณมากกว่าคนทั่วไปถึงวันละ 20 กรัม โดยส่วนใหญ่จากการรับประทานขนมหวาน เช่น เบเกอรี่ ช็อคโกแลต และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ทำให้คนกลุ่มนี้มีโอกาสที่จะรับประทานน้ำตาลในปริมาณมากเกินไป ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพที่ตามมาได้

 

จะรู้ได้อย่างไรว่ามี “ยีนติดหวาน” หรือไม่? 

ชุดตรวจสารอาหารจากดีเอ็นเอ 18 ชนิด จาก GeneusDNA จะช่วยให้คุณทราบว่า คุณมีความเสี่ยงทางพันธุกรรมที่จะเป็นโรคติดหวาน และมีโอกาสจะรับประทานน้ำตาลมากเกินไปหรือไม่ ซึ่งโรคติดหวานอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ และถ้าหากผลการวิเคราะห์ DNA พบว่า คุณมีโอกาสจะเป็นโรคติดหวาน คุณจะได้รับคำแนะนำเฉพาะบุคคลที่จะช่วยให้คุณรับมือกับภาวะนี้ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดตามมาในอนาคต 

ชุดตรวจสารอาหารจากดีเอ็นเอ 18 ชนิด

ไม่เพียงแต่โรคติดหวานเท่านั้น ชุดตรวจสารอาหารจากดีนเอ็นเอ 18 ชนิด ยังช่วยให้คุณทราบว่า คุณมีความต้องการวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระชนิดใดมากเป็นพิเศษ หรือมีความไวต่ออาหารชนิดใดบ้าง เช่น คาเฟอีน แอลกอฮอล์ กลูเตน นมวัว เป็นต้น 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับชุดตรวจสุขภาพจากดีเอ็นเอ 500+ รายการ ได้ที่นี่ 

 
ข่าวดีก็คือ ถึงแม้ว่าปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดภาวะทางสุขภาพ แต่วิถีชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ของเราแต่ละคนก็มีผลเช่นเดียวกัน ดังนั้นการรู้ความเสี่ยงจึงไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวเสมอไป ด้วยคำแนะนำเฉพาะบุคคลที่คุณจะได้รับพร้อมกับรายงานผลการตรวจนี้ จะช่วยให้คุณสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น และช่วยให้คุณเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับร่างกายมากที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงหรือป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าวในอนาคต 

 

กินหวานเท่าไร... ถึงจะไม่เกิดโรค?

หลายท่านอาจกำลังสงสัยว่า แล้วปริมาณน้ำตาลเท่าไรที่เรียกว่า “ไม่มากเกินไป” เนื่องจากการงดบริโภคน้ำตาลอย่างเด็ดขาดอาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางท่าน 

องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ลดปริมาณน้ำตาลที่เติมลงไปในอาหารชนิดต่างๆ (added sugar) โดยรับประทานไม่เกิน 10% ของพลังงานที่ได้รับในแต่ละวัน ซึ่งเท่ากับประมาณ 12 ช้อนชา หรือ 48 กรัมต่อวัน (สำหรับผู้ใหญ่ที่ได้รับพลังงาน 2,000 แคลอรี่ต่อวัน) เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกิน ฟันผุ และป้องกันโรคที่อาจเกิดตามมา และหากทำได้ ควรลดปริมาณน้ำตาลลงเหลือไม่เกิน 5% ของพลังงานที่ได้รับในแต่ละวัน หรือประมาณ 6 ช้อนชาต่อวัน เพื่อสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น

 

หวานซ่อนพิษ

แม้ว่าน้ำตาลจะทำให้เรารู้สึกมีความสุขเมื่อได้รับประทาน แต่เมื่อรับประทานมากเกินไปก็สามารถนำไปสู่โรคภัยและปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน ได้แก่ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น 

 

เอกสารอ้างอิง

 (1) Eny KM et al. (2008). Genetic variant in the glucose transporter type 2 is associated with higher intakes of sugars in two distinct populations. Physiol Genomics. 33(3):355-60.  
(2) Danielle RR et al. (2006). The human sweet tooth. BMC Oral Health. 6(suppl 1):S17.  

chat line chat facebook